ReadyPlanet.com
dot dot
dot
วางแผนการเงิน
dot
bulletทำไมต้องวางแผนการเงิน
dot
วางแผนเกษียณอายุ
dot
bulletวางแผนเกษียณอย่างง่าย
dot
วางแผนภาษีอากร
dot
bulletทำไมต้องวางแผนภาษี
bulletเทคนิควางแผนภาษีส่วนบุคคล
bulletเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
bulletค่าใช้จ่ายของแต่ละอาชีพ
bulletสิทธิหักลดหย่อนภาษี
bulletวิธีคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา
dot
วางแผนการลงทุน
dot
bulletข้อคิดก่อนลงทุน
bulletการจัดพอร์ตลงทุน
dot
วางแผนการประกัน
dot
bulletหลักพื้นฐานการประกันภัย
bulletประกันชีวิตเท่าไรถึงพอ
dot
Newsletter

dot




ขุมทรัพย์ในกรมธรรม์

    เมื่อพูดถึงขุมทรัพย์  เรามักนึกถึงแหล่งที่พบสมบัติล้ำค่าที่ถูกซุกซ่อนไว้  แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า  หากท่านมีกรมธรรม์สะสมทรัพย์ที่ถือไว้ก่อนปีพศ.2545 ท่านก็เสมือนมีขุมทรัพย์อยู่ในมือเช่นกัน

    ถ้าท่านโชคดีได้ซื้อกรมธรรม์สะสมทรัพย์ไว้ก่อนปีพศ.2545 ไม่ว่าแบบใด หรือจากบริษัทใด  ลองหยิบกรมธรรม์ขึ้นมาพลิกๆดู

  เริ่มจาก หมวดว่าด้วยเงินคืน  ถ้ากรมธรรม์ของท่านมีเงินคืนตามเงื่อนไขของกรมธรรม์เป็นระยะๆ เช่น คืนทุก 3 ปี หรือทุก5 ปี เขามักจะมีข้อความทำนองว่า “เงินจ่ายคืนรายงวดตามกรมธรรม์แบบสะสม” ซึ่งมีรายละเอียดว่า ท่านสามารถคงเงินนี้ไว้กับบริษัทเพื่อสะสม โดยได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี จนกว่าผู้เอาประกันจะเสียชีวิตหรือกรมธรรม์ครบสัญญา

นั่นเท่ากับว่า เงินคืนรายงวดนี้ สามารถฝากไว้กับบริษัทประกันแบบบัญชีออมทรัพย์ สามารถถอนได้ตลอดเวลา โดยได้ดอกเบี้ยสูงถึง 6% คิดเป็น 2 เท่าของดอกเบี้ยปัจจุบัน

ต่อไปลองพลิกไปดูหมวดที่ว่าด้วยเงินครบสัญญา จะมีข้อความทำนองว่า “การจ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย” หากเจ้าของกรมธรรม์ไม่ประสงค์จะรับเงินได้ตามกรมธรรม์เมื่อกรมธรรม์ครบสัญญา หรือผู้เอาประกันเสียชีวิต  เจ้าของกรมธรรม์อาจตกลงกับบริษัทให้จ่ายเงิน โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้

1. จ่ายดอกเบี้ยซึ่งเกิดจากเงินที่ได้ โดยคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี
2. จ่ายเป็นรายงวดในจำนวนที่กำหนดได้ งวดละเท่าๆกัน เป็นรายปี หกเดือน สามเดือน หรือรายเดือน ตามจำนวนที่เลือกได้ โดยบริษัทคิดดอกเบี้ยให้เงินส่วนที่เหลือในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี
3. จ่ายเป็นรายงวดภายในระยะเวลาที่กำหนด  บริษัทจะจ่ายเงินที่ได้เป็นงวด งวดละเท่าๆกัน เป็นรายปี หกเดือน สามเดือน หรือรายเดือน เป็นเวลาไม่เกิน 20 ปี โดยคำนวณดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี  ผู้รับเงินตามกรมธรรม์อาจถอนเงินส่วนที่เหลืออยู่ได้ทุกเวลา
4. จ่ายเงินเป็นรายได้ตลอดชีพ  บริษัทจะจ่ายเงินที่ได้ให้เป็นงวด งวดละเท่าๆกัน เป็นรายปี หกเดือน สามเดือน หรือรายเดือน ตลอดอายุของผู้รับเงิน  จำนวนเงินแต่ละงวดจะขึ้นกับอายุ เพศ ที่ได้กำหนดไว้ให้ในตาราง

ถ้าท่านพบข้อความทำนองนี้  ( หรือกรมธรรม์ที่ออกในช่วงปลายปี 2545-2546 บางกรมธรรม์ บางบริษัทอาจจะลดลงมาเป็น 5% บ้าง 4% บ้างก็ไม่เป็นไร) ถือว่าท่านโชคดีได้รับผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยปัจจุบันมาก  แถมยังไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ย  เพราะประมวลรัษฎากร กำหนดให้เงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้จากจากกรมธรรม์ประกันชีวิต ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้  เท่ากับว่าท่านมีขุมทรัพย์ไว้ในมือ  จะมากจะน้อยขึ้นกับวงเงินที่ท่านทำไว้ 

ดังนั้นเวลามีเงินคืนตามกรมธรรม์ หรือเงินครบสัญญา  ท่านสามารถแจ้งความจำนงขอฝากเงินเหล่านี้ไว้กับบริษัทประกัน  ที่เป็นลักษณะคล้ายบัญชีออมทรัพย์ คือถอนได้ตลอดเวลา  แต่ได้ดอกเบี้ยถึง 6 %  ในขณะที่ปัจจุบัน หากท่านนำเงินก้อนนี้ไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล จะได้ดอกเบี้ยเพียง 3.5% ไม่มีสภาพคล่องแถมยังต้องเสียดอกเบี้ยด้วย  หรือหากนำไปฝากธนาคารก็จะได้ดอกเบี้ยเพียง 1-3% เท่านั้น และยังมีโอกาสที่ดอกเบี้ยจะลดลงได้ในอนาคต

สิทธิ์นี้จะคงอยู่ไปจนกว่าผู้เอาประกันภัยจะเสียชีวิต  หรือหากเราใช้สิทธิ์นี้ในเงื่อนไขที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต  แล้วผู้รับประโยชน์ขอฝากเงินสินไหมที่ได้ไว้  ก็สามารถคงสิทธิ์นี้ไปจนสิ้นอายุขัยของผู้รับประโยชน์ เรียกว่า ได้ประโยชน์จากขุมทรัพย์นี้ 1 ชั่วอายุคน

ส่วนที่มาที่ไป ที่ทำให้บริษัทประกันชีวิตใส่เงื่อนไขนี้ผูกมัดตนเองไว้ เพราะเดิมทีอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว ( 10 ปีขึ้นไป) ไม่เคยให้ต่ำกว่า 8 %  บริษัทต่างๆจึงขอทำตัวเป็นเสือนอนกิน  เสนอบริการรับฝากเงินคืนหรือเงินครบสัญญาจากลูกค้า โดยสัญญาที่จะจ่ายดอกเบี้ยให้ 6% ขณะที่ตนเองจะนำเงินนี้ไปซื้อพันธบัตรรับดอกเบี้ย 8-10% โดยไม่ต้องเหนื่อยยากหรือมีความเสี่ยงใดๆ  และมันก็เป็นเช่นนี้มา 40-50 ปีนับตั้งแต่มีธุรกิจประกันชีวิตมา

แต่เหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงก็เกิดขึ้น  ประเทศไทยประสบวิกฤติเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ในปี พศ.2540 ธุรกิจล้มละลายจำนวนมาก  หลังเศรษฐกิจฟื้นตัว  เจ้าของธุรกิจหรือนักลงทุนเริ่มระมัดระวังในการลงทุน รู้จักบันยะบันยัง  กู้เงินมาลงทุนเท่าที่จำเป็น  ลดการเก็งกำไรลง  ให้มีเงินฝากล้นธนาคาร  ธนาคารปล่อยสินเชื่อได้น้อยกว่าที่รับฝากมา  ทำให้ดอกเบี้ยลดลงอย่างต่อเนื่อง 

ผลตอบแทนพันธบัตรก็ลดลงตามไปด้วย จนลดต่ำกว่า 6% ในช่วงปี พศ.2546 ทำให้ทุกบริษัททยอยยกเลิกเงื่อนไขนี้ในกรมธรรม์ที่ออกขายใหม่  และล่าสุด(วันที่ 26 มค.2555) พันธบัตร 10 ปีให้ดอกเบี้ยเพียง 3.21% พันธบัตร 15 ปีให้ดอกเบี้ย 3.53% พันธบัตร 20 ปีให้ดอกเบี้ย 3.61% และพันธบัตร 50 ปีให้ดอกเบี้ย 4.24% อย่างนี้ต้องเรียกว่าเป็นทุกขลาภของบริษัทประกันชีวิต เป็นพันธนาการที่เกิดขึ้นแบบคาดไม่ถึง

แต่ไม่ต้องไปกังวลกับความมั่นคง หรือความสามารถในการหาดอกผลมาจ่ายดอกเบี้ยให้พวกเราหรอกครับ  เพราะมาถึงทุกวันนี้ กรมธรรม์ที่ออกใหม่ยกเลิกเงื่อนไขเหล่านี้หมดแล้ว  หรือหากมี ก็รับประกันดอกเบี้ยให้เพียง 2%  ส่วนกรมธรรม์ที่ได้สิทธิ์พิเศษตามที่กล่าวมาข้างต้น ก็คงมีจำนวนไม่ถึง 10%ของเงินที่อยู่ในระบบประกันชีวิตทั้งหมด  เนื่องจากธุรกิจประกันชีวิตเติบโตอย่างก้าวกระโดดทุกปี  จนไม่มีผลต่อการจัดสรรผลตอบแทนให้ผู้ถือกรมธรรม์รุ่นเก่าๆ

คนที่ได้ซื้อกรมธรรม์สะสมทรัพย์รุ่นพิเศษนี้ จึงเสมือนถูกหวยโดยไม่รู้ตัว  เท่ากับมีขุมทรัพย์ย่อยๆที่ซุกซ่อนไว้ใกล้ตัว  แต่ถ้าไม่รู้ หรือรู้แต่ไม่ใช้สิทธิ์ ก็เท่ากับเสียปล่าวครับ




บทความน่าสน

Domain names for sale article
ทองคำ ฤาจะหมดมนต์ขลัง
Dollar Carry Trade แผลงฤทธิ์
กรมธรรม์บำนาญ เรื่องใกล้ตัวที่คุณควรรู้ article
ฝรั่งทิ้งหุ้นกว่า 5 หมื่นล้าน ทำไมหุ้นไทยถึงไม่ลง(มาก) article
ทำไม ทองยังคงทำสถิติราคาสูงสุดใหม่ article
ทำไม หุ้นจึงพุ่ง สวนทางม็อบ article
เฟดขึ้นดอกเบี้ย มั่นใจพ้นจุดต่ำสุด article
5 ศตวรรษของฟองสบู่โลก
บริจาคอย่างไร หักภาษีได้ 2 เท่า
ทำไม ราคาทองคำจึงพุ่งไม่หยุด
MACD สาเหตุที่แท้จริงในตลาดหุ้น
เงินรองรัง เท่าไรถึงพอ
นักลงทุนทิ้งเงินดอลลาร์ มุ่งลงทุนสินทรัพย์อื่น
เงินที่หล่นหาย
สมาคมตัวแทนเตรียมจัดงานสัมมนาระดับโลก
5 คำแนะนำในการซื้อบ้านที่ถูกยึด
พันธบัตร 10 ปีของสหรัฐ พุ่งแตะ 3.71%
วิกฤตการเงินระลอกสอง article
AIG ถึงคราวต้องล้ม ?
เงินสิบบาท
ช่วยด้วย ฉันซื้อประกันไว้กับ AIG
ช่วยใช้เงินหน่อย
เตือนรัฐรับวิกฤติผู้สูงอายุ
ข่าวดีและข่าวร้ายจากเฟด
CDS ดินระเบิดวิกฤติปี 2008 article
สัญญาเพิ่มเติมในประกันชีวิต หักภาษีไม่ได้แล้ว
จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าฟองสบู่อเมริกาแตก
มาวางแผนเกษียณอายุกันเถอะ article
วิธีเป็นเศรษฐีเงินล้าน article
หลักทรัพย์ที่ควรร้จัก
สปส.ปรับเพิ่มเงินบำนาญชราภาพ article
AIG มาถึงวันนี้ได้อย่างไร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.