ReadyPlanet.com
dot dot
dot
วางแผนการเงิน
dot
bulletทำไมต้องวางแผนการเงิน
dot
วางแผนเกษียณอายุ
dot
bulletวางแผนเกษียณอย่างง่าย
dot
วางแผนภาษีอากร
dot
bulletทำไมต้องวางแผนภาษี
bulletเทคนิควางแผนภาษีส่วนบุคคล
bulletเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
bulletค่าใช้จ่ายของแต่ละอาชีพ
bulletสิทธิหักลดหย่อนภาษี
bulletวิธีคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา
dot
วางแผนการลงทุน
dot
bulletข้อคิดก่อนลงทุน
bulletการจัดพอร์ตลงทุน
dot
วางแผนการประกัน
dot
bulletหลักพื้นฐานการประกันภัย
bulletประกันชีวิตเท่าไรถึงพอ
dot
Newsletter

dot




กรมธรรม์บำนาญ เรื่องใกล้ตัวที่คุณควรรู้ article

เมืองไทยกำลังเปลี่ยนไปเป็นสังคมผู้สูงอายุ ( Aging society )  ภายใน 20 ปีข้างหน้า  1 ใน 5 ของประชากรไทยจะมีอายุ 60 ปี ขึ้นไป  และเราทุกคนรู้ว่ารัฐบาลไม่มีทางที่จะดูแลคนชราเหล่านี้ได้ทั่วถึงแน่ 
วิธีที่ดีที่สุดที่ทุกประเทศใช้กันคือ ส่งเสริมให้ประชาชนช่วยเหลือตนเอง  และหนึ่งในวิธีการนั้นคือ การสนับสนุนให้เขาซื้อกรมธรรม์บำนาญเพื่อเขาจะได้มีเงินเลี้ยงดูหลังเกษียณไปตลอดชีวิต

กรมธรรม์บำนาญ ( Annuity ) เป็นสัญญาทางการเงินในรูปของกรมธรรม์ประกันภัย  ที่ผู้ขายซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทประกันชีวิต  ทำข้อตกลงจะจ่ายเงินงวดในอนาคตให้แก่ผู้รับบำนาญ ( annuitant ) เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่เขาต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ก้อนเดียวทันที หรือ เบี้ยประกันอย่างสม่ำเสมอหลายๆงวดให้บริษัท  ก่อนที่เขาจะได้รับเงินรายได้เป็นรายเดือน, รายสามเดือน, รายหกเดือนหรือรายปีไปตลอดชีวิต หรือตามจำนวนปีที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

หากเป็นกรมธรรม์บำนาญแบบตลอดชีพ ( Lifetime Annuity )  เงินรายงวดที่จ่ายจากบริษัทไปยังลูกค้านั้นไม่มีการจำกัดกรอบเวลา  ขึ้นกับอายุขัยของลูกค้าเป็นหลัก  ยิ่งอายุยืน ยิ่งรับเงินมากงวดขึ้น  แต่สัญญาจะสิ้นสุดลงเมื่อลูกค้าเสียชีวิต  หากมีเงินสะสมเหลืออยู่  ส่วนที่เหลือนี้จะถูกริบเข้ากองกลางเพื่อนำไปเป็นทุนสะสมให้สมาชิกคนอื่นต่อไป (คล้ายกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์)  เว้นแต่จะมีผู้รับบำนาญร่วมหรือมีผู้รับประโยชน์ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

กรมธรรม์บำนาญจึงเป็นการประกันการทรงชีพ ( longevity insurance )   ซึ่งความไม่แน่นอนของช่วงชีวิตบุคคลจะถูกโอนความเสี่ยงไปยังบริษัท  และบริษัทจะใช้ชีวิตของลูกค้าจำนวนมาก มากระจายความเสี่ยง  กรมธรรม์แบบนี้จึงควรซื้อไว้เพื่อที่เราจะยังคงมีรายได้หลังเกษียณอายุ

ระยะของกรมธรรม์  โดยทั่วไป มี 2 ช่วง
1. ช่วงสะสม ( Accumulation phase ) เป็นช่วงที่ลูกค้าฝากและสะสมเงินออมในบัญชีของตนในบริษัทประกันชีวิต
2. ช่วงรับบำนาญ ( Annuitization phase หรือ Distribution phase ) เป็นช่วงที่บริษัทประกันจ่ายเงินได้ประจำให้ลูกค้าที่ระบุไว้ในกรมธรรม์จนกว่าจะเสียชีวิตหรือตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้

อย่างไรก็ตาม  เราอาจสร้างกรมธรรม์ที่มีแต่ระยะรับบำนาญ  โดยการใส่เงินเข้าไปก้อนใหญ่ครั้งเดียว ( single premium) แล้วขอรับบำนาญภายใน 1 ปี กรมธรรม์แบบนี้จะเรียกว่า Immediate annuity  ซึ่งจะช่วยรองรับผู้สูงอายุที่ได้รับเงินก้อนโต ณ วันเกษียณ เช่นเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ , เงินจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ( RMF) หรือเงินบำเหน็จราชการ  โดยให้เขานำเงินที่ได้นี้ มาซื้อกรมธรรม์บำนาญ  แล้วกรมธรรม์จะทำหน้าที่จ่ายเงินให้ใช้  แทนค่าจ้างเดิมไปจนวันสุดท้ายของชีวิต กรมธรรม์แบบนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกา 

แต่ถ้าเรายังไม่พร้อม  ยังไม่มีเงินก้อน  จะใช้วิธีค่อยๆจ่ายเบี้ยประกันสะสมเข้าไปเรื่อยๆ  จนเมื่อมีเงินมากพอแล้วค่อยรับบำนาญ  หรือใครจะเริ่มจากการจ่ายเงินก้อนโตเข้าไปครั้งเดียว  แต่เราอาจรู้สึกว่ามันยังไม่มากพอ  จะขอฝากเงินไว้ให้เขาบริหารลงทุนไปก่อน  จนเมื่อมีขนาดพอสมควรแล้ว  ค่อยมารับบำนาญ  กรมธรรม์แบบนี้จะเรียกว่า Deferred Annuity 

หรือในกรณีที่เรามีเงินก้อนโต  แต่อายุเรายังไม่ถึงเกณฑ์ที่เขากำหนดว่าเป็นวัยเกษียณ  จะฝากเงินเก็บไว้ที่บริษัทประกันจนถึงอายุที่กำหนดแล้วค่อยรับบำนาญ  ก็เรียกกรมธรรม์นี้ว่า Deferred Annuity เหมือนกัน  โดยเงินโตนี้อาจมาจากมรดก, เงินจากการขายอสังหาริมทรัพย์  หรือเงินครบสัญญากรมธรรม์แบบสะสมทรัพย์ก็ได้

ชนิดของกรมธรรม์บำนาญ
ในสหรัฐและยุโรปที่มีกรมธรรม์บำนาญขายมาช้านานแล้ว  พบว่ามีกรมธรรม์ชนิดต่างๆให้เลือกมากมาย  บางแบบเรียกตามอัตราผลประโยชน์ที่ได้รับ  บางแบบเรียกตามระยะเวลาที่รับบำนาญ  ขณะที่บางแบบใช้จำนวนผู้รับหรือสุขภาพของผู้รับมาเป็นชื่อเรียก  โดยลูกค้าสามารถเลือกที่จะใช้เงื่อนไขต่างๆเหล่านี้มาผสมรวมกันในกรมธรรม์ฉบับเดียวกันก็ได้

กรมธรรม์บำนาญ  สามารถแบ่งเป็นชนิดต่างๆได้ดังนี้

1. กรมธรรม์แบบคงที่และแบบแปรผัน ( Fixed and Variable annuities )
กรมธรรม์ที่จ่ายเงินบำนาญแบบคงที่ตั้งแต่งวดแรกไปจนวันสุดท้ายของชีวิต เราเรียกกรมธรรม์แบบนี้ว่ากรมธรรม์บำนาญแบบคงที่ ( Fixed annuities )  ซึ่งหากลูกค้ามีอายุยืนมากๆหรือกรณีที่เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงนานๆ  จะมีผลให้กำลังซื้อของผู้รับบำนาญลดลงในอนาคต  จึงมีกรมธรรม์ชนิดที่จ่ายเงินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นทุกปีเช่น 3% หรือเพิ่มขึ้นตามเปอร์เซ็นต์ของอัตราเงินเฟ้อ  ซึ่งจะช่วยให้เรามีกำลังซื้อเท่าเดิม  แต่ต้องแลกกับการที่เงินบำนาญงวดแรกที่ได้รับ  ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับกรมธรรม์แบบคงที่ทั่วไป  ยิ่งเรากำหนดให้เงินงวดเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมาก  เงินบำนาญที่จ่ายออกมางวดแรกยิ่งต่ำลง  กรมธรรม์แบบนี้เรียกว่า Escalation Annuities

ขณะที่กรมธรรม์บำนาญแบบแปรผัน ( Variable annuities ) จะจ่ายเงินที่ขึ้นลงตามผลประกอบการจากการลงทุน ซึ่งโดยมากมักจะเป็นการลงทุนในพันธบัตร หุ้นกู้ และกองทุนรวมต่างๆ  กรมธรรม์บำนาญแบบแปรผันนี้  บางอย่างมีการรับประกันเงินงวดขั้นต่ำ  ขณะที่บางอย่างไม่มีการรับประกันเลย  แต่ชนิดที่มีการรับประกันจะได้รับความนิยมมากกว่า

2. กรมธรรม์บำนาญแบบรับประกันจำนวนปี ( Guaranteed annuities )
จุดอ่อนอย่างหนึ่งของกรมธรรม์บำนาญดั้งเดิม คือถ้าผู้รับเงินบำนาญเกิดเสียชีวิตก่อนที่จะได้ใช้เงินเท่ากับยอดเงินที่ตนสะสมไว้  เงินงวดที่เหลือจะถูกริบเข้ากองกลางเพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนให้สมาชิกผู้รับบำนาญที่เหลือ 
จึงเป็นที่มาของแนวคิดที่จะมีกรมธรรม์แบบรับประกันจำนวนปีขั้นต่ำ  ที่บริษัทผู้รับประกันจะต้องจ่ายเงินบำนาญอย่างน้อยในจำนวนปีที่แน่นอน เช่น 5 ปี หรือ 10 ปี  หากผู้เอาประกันอยู่รับเงินครบตามระยะเวลาดังกล่าว  เขายังคงสิทธิที่จะอยู่รับเงินบำนาญไปเรื่อยๆจนกว่าจะเสียชีวิต  แต่ถ้าเกิดเขาเสียชีวิตก่อนช่วงเวลาที่กำหนด   คู่สมรสหรือกองมรดกของเขาจะมีสิทธิเข้ารับเงินส่วนที่เหลือ(ของ 5 ปี หรือ 10 ปีที่รับประกันไว้) 
แต่การตัดสินใจที่จะเลือกเป็นกรมธรรม์แบบที่รับประกันจำนวนปีนั้น  ต้องแลกกับการที่จะได้รับเงินงวดน้อยลง เช่น ชายอายุ 65 ปี หากเลือกกรมธรรม์ที่มีระยะเวลารับประกัน 5 ปี จะได้รับบำนาญน้อยกว่าแบบที่ไม่มีระยะเวลารับประกัน 2% และหากให้บริษัทรับประกันขั้นต่ำถึง 10 ปี จะได้รับเงินบำนาญน้อยกว่าแบบทั่วไปถึง 6% 

3. กรมธรรม์บำนาญแบบคู่ชีวิต (Joint annuities or Partner’s Pension )
เป็นกรมธรรม์ที่จะจ่ายเงินบำนาญให้ไปตลอดชีวิตของผู้รับสองคน  ซึ่งโดยทั่วไปมักเป็นคู่สามี-ภรรยา  โดยหากผู้รับบำนาญคนแรกเสียชีวิตไปแล้ว  คนที่เหลือจะยังคงได้รับบำนาญต่อไปตลอดชีวิต  การจ่ายเงินยังคงดำเนินต่อไปในจำนวนเท่าเดิมหรืออาจจะลดลง ขึ้นกับเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา   ในบางประเทศให้สามารถใช้ได้กับคู่รักที่เป็นเพศเดียวกันได้  หรืออาจหมายถึงคนที่บริษัทประกันเชื่อว่ายังต้องพึ่งพาผู้รับบำนาญคนแรกในวันที่เขาจากไป

4. กรมธรรม์บำนาญสำหรับผู้มีโรคประจำตัว ( Impaired life annuities )
ปัจจุบันได้เริ่มมีการออกกรมธรรม์บำนาญเพื่อรองรับผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหอบหืดเรื้อรัง หรือโรคมะเร็งบางชนิด  โดยหากลูกค้ามีรายงานของแพทย์เข้ามายืนยันการเจ็บป่วย  บริษัทจะจ่ายเงินรายงวดก้อนใหญ่ขึ้น  เพราะคาดว่าลูกค้าจะอยู่รับเงินได้ไม่นาน  กรมธรรม์แบบนี้จะต้องซื้อผ่านที่ปรึกษาการเงินหรือตัวแทนประกันชีวิตเท่านั้น 

5. กรมธรรม์บำนาญแบบเพิ่มพูน ( Enhanced  Annuities )
เป็นกรมธรรม์ที่โดยทั่วไปจะขายให้ลูกค้าที่สูบบุหรี่เป็นประจำ  แต่อาจขายให้คนที่มีน้ำหนักมาก หรือคนที่ทำงานในเหมืองนานๆก็ได้ โดยบริษัทจะขอรายงานแพทย์เพื่อยืนยันความถูกต้อง  ถ้าบริษัทอนุมัติ  เงินงวดที่ได้รับในอนาคตจะสูงกว่าบำนาญทั่วไป  เพราะบริษัทคาดว่าจะจ่ายเงินให้เราช่วงสั้นกว่าคนทั่วไป

6. กรมธรรม์บำนาญแบบคุ้มครองเงินต้น ( Capital Protected Annuities )
เป็นกรมธรรม์แบบที่ถ้าคุณจากไปก่อนอายุ 75 ปี จะมีเงินก้อนหนึ่งจ่ายให้ผู้รับประโยชน์ของคุณ  เงินก้อนนี้จะเท่ากับเงินที่คุณสะสมไว้  หักด้วยเงินบำนาญทั้งหมดที่คุณรับไปแล้ว 

จะเห็นได้ว่า  กรมธรรม์บำนาญได้มีการออกแบบมามากมาย  เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย  ดังนั้นก่อนซื้อกรมธรรม์ต้องศึกษาและอ่านเงื่อนไขของกรมธรรม์แต่ละแบบให้ดีเสียก่อน

วิธีคำนวณเงินบำนาญที่จะได้รับ
ขนาดของเงินงวดที่จะได้รับในอนาคตขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือ
 1. ขนาดของเงินสะสม ( The pot )
 2. อัตราบำนาญ ( Annuity rate )

โดยสามารถคำนวณได้จากสูตรต่อไปนี้ 
Annuity = Value of fund x Annuity rate

อัตราบำนาญถูกคิดคำนวณโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย  ซึ่งใช้ปัจจัยหลายอย่างมาคำนวณ เช่น อัตรามรณะ อัตราดอกเบี้ย อายุ เพศและสุขภาพ  โดยทั่วไป  อัตราจะยิ่งสูงถ้าลูกค้ายิ่งมีอายุมาก  เพราะช่วงอายุในอนาคตเหลือน้อยกว่า  ขณะเดียวกัน  อัตราของผู้ชายจะสูงกว่าผู้หญิง  เพราะผู้ชายมีอายุสั้นกว่าผู้หญิง
นอกจากนี้หากเราเลือกเงื่อนไขพิเศษเพิ่มขึ้น เช่น  ขอปรับเงินบำนาญตามเงินเฟ้อ, ขอให้รับประกันระยะเวลาจ่ายขั้นต่ำ หรือขอให้จ่ายให้คู่สมรสด้วยหลังการเสียชีวิตของคนแรก  มันจะทำให้เงินบำนาญลดลง 

ข้อดีของการซื้อกรมธรรม์บำนาญ
1. มีหลักประกันว่าเราจะมีเงินใช้ยามเกษียณแน่นอน
2. รับประกันผลตอบแทนที่ได้  ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องการลงทุนในอนาคต
3. เป็นการจัดสรรเงินที่เป็นระบบ  เชื่อถือได้
4. ได้รับการสนับสนุนจากรัฐโดยการลดหย่อนภาษีให้
5. เป็นการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข  ทุกคนยังชีพอยู่ได้ด้วยเงินกองกลาง
6. สบายใจว่าคู่สมรสของเรามีเงินเลี้ยงดู  แม้เราจะไม่อยู่แล้ว
7. ช่วยลดภาระของรัฐในระยะยาว

ข้ออ่อนของกรมธรรม์บำนาญ
1. เมื่อเริ่มรับเงินบำนาญแล้ว  ยกเลิกไม่ได้
2. หากยกเลิกในช่วงสะสมเงิน  อาจถูกคิดค่าธรรมเนียม 7% - 20%ของเงินที่สะสมไป
3. กรณีผู้ซื้อมีอายุสั้น  อาจทำให้ได้รับเงินบำนาญคืนน้อยกว่าที่จ่ายออกไป
4. อัตราเงินเฟ้ออาจทำให้เงินที่ได้ในอนาคตมีกำลังซื้อลดลง  อาจจะไม่สะดวกสบายอย่างที่คาดหวังไว้
5. ต้องสะสมเงินเป็นเวลายาวนานกว่าจะได้ใช้เงิน ( อย่างต่ำต้องรอถึงอายุ 55 ปี )

เมื่อไรที่เราควรตัดสินใจซื้อกรมธรรม์บำนาญ
ไม่มีใครสามารถทำนายอนาคตได้  อย่างไรก็ตาม  จากประสบการณ์ในทศวรรษที่ผ่านมา  จะพบว่าผู้ที่ตัดสินใจล่าช้ามักเป็นฝ่ายเสียผลประโยชน์  ไม่เพียงแต่จะมาจากการที่อัตราการจ่ายบำนาญลดลงเพราะคนอายุยืนขึ้น  แต่ยังมาจากผลตอบแทนการลงทุนที่ลดน้อยลง  จากความล่าช้าในการเริ่มต้นลงทุน

บทสรุป
ปัจจุบันนี้ กรมธรรม์บำนาญกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในอังกฤษและอเมริกา  มีข้อมูลว่าเงินเกษียณอายุของประชาชนชาวอเมริกัน มาจากกรมธรรม์แบบบำนาญถึง 15%   ดังนั้น จึงเชื่อว่าประชาชนในประเทศต่างๆจะพากันเลียนแบบ และนิยมกรมธรรม์บำนาญกันอย่างแพร่หลาย

รัฐบาลไทยควรฉวยโอกาสนี้  รณรงค์ให้ประชาชนซื้อกรมธรรม์บำนาญไว้ให้มากที่สุด  เพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐบาล  โดยการอนุมัติให้ลดหย่อนภาษีเงินออมส่วนนี้ได้  เชื่อว่ากองทุนบำนาญนี้จะเติบโตอย่างรวดเร็ว  พร้อมที่จะเป็นทั้งหลักประกันและเงินออมของประเทศในอนาคต

แหล่งข้อมูล  Wikipedia , Investopedia, UK-annuity.com และ CNNMoney.com

หมายเหตุ  ชื่อเรียกคำต่างๆ  อาจจะเปลี่ยนแปลงได้  เนื่องจากปัจจุบันยังไม่ได้มีการบัญญัติศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อ กรมธรรม์บำนาญแบบต่างๆของไทย อย่างเป็นทางการ 




บทความน่าสน

Domain names for sale article
ขุมทรัพย์ในกรมธรรม์
ทองคำ ฤาจะหมดมนต์ขลัง
Dollar Carry Trade แผลงฤทธิ์
ฝรั่งทิ้งหุ้นกว่า 5 หมื่นล้าน ทำไมหุ้นไทยถึงไม่ลง(มาก) article
ทำไม ทองยังคงทำสถิติราคาสูงสุดใหม่ article
ทำไม หุ้นจึงพุ่ง สวนทางม็อบ article
เฟดขึ้นดอกเบี้ย มั่นใจพ้นจุดต่ำสุด article
5 ศตวรรษของฟองสบู่โลก
บริจาคอย่างไร หักภาษีได้ 2 เท่า
ทำไม ราคาทองคำจึงพุ่งไม่หยุด
MACD สาเหตุที่แท้จริงในตลาดหุ้น
เงินรองรัง เท่าไรถึงพอ
นักลงทุนทิ้งเงินดอลลาร์ มุ่งลงทุนสินทรัพย์อื่น
เงินที่หล่นหาย
สมาคมตัวแทนเตรียมจัดงานสัมมนาระดับโลก
5 คำแนะนำในการซื้อบ้านที่ถูกยึด
พันธบัตร 10 ปีของสหรัฐ พุ่งแตะ 3.71%
วิกฤตการเงินระลอกสอง article
AIG ถึงคราวต้องล้ม ?
เงินสิบบาท
ช่วยด้วย ฉันซื้อประกันไว้กับ AIG
ช่วยใช้เงินหน่อย
เตือนรัฐรับวิกฤติผู้สูงอายุ
ข่าวดีและข่าวร้ายจากเฟด
CDS ดินระเบิดวิกฤติปี 2008 article
สัญญาเพิ่มเติมในประกันชีวิต หักภาษีไม่ได้แล้ว
จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าฟองสบู่อเมริกาแตก
มาวางแผนเกษียณอายุกันเถอะ article
วิธีเป็นเศรษฐีเงินล้าน article
หลักทรัพย์ที่ควรร้จัก
สปส.ปรับเพิ่มเงินบำนาญชราภาพ article
AIG มาถึงวันนี้ได้อย่างไร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.