ReadyPlanet.com
dot dot
dot
วางแผนการเงิน
dot
bulletทำไมต้องวางแผนการเงิน
dot
วางแผนเกษียณอายุ
dot
bulletวางแผนเกษียณอย่างง่าย
dot
วางแผนภาษีอากร
dot
bulletทำไมต้องวางแผนภาษี
bulletเทคนิควางแผนภาษีส่วนบุคคล
bulletเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
bulletค่าใช้จ่ายของแต่ละอาชีพ
bulletสิทธิหักลดหย่อนภาษี
bulletวิธีคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา
dot
วางแผนการลงทุน
dot
bulletข้อคิดก่อนลงทุน
bulletการจัดพอร์ตลงทุน
dot
วางแผนการประกัน
dot
bulletหลักพื้นฐานการประกันภัย
bulletประกันชีวิตเท่าไรถึงพอ
dot
Newsletter

dot




ฝรั่งทิ้งหุ้นกว่า 5 หมื่นล้าน ทำไมหุ้นไทยถึงไม่ลง(มาก) article

 วิกฤติแฮมเบอเกอร์ผ่านไปแล้วประมาณ 1 ปีเศษ  แต่ใครเลยจะคิดว่า  เมื่อเวลาผ่านไปเพียงแค่ 1 ปี  จะทำให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กลับมาทำกำไรกันอย่างอู้ฟู่ ยกแผง 

หลายบริษัทสร้างสถิติทำกำไรสูงสุดในรอบสิบปี  ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น  หากเราคิดอย่างคนทั่วไป  บริษัทเหล่านี้น่าจะค่อยๆฟื้นตัว  ค่อยๆมีกำไรขึ้นมา  แล้วค่อยกลับมาทำกำไรอยู่ในระดับเดิมเหมือนช่วงก่อนเกิดวิกฤติ

  เราลองวิเคราะห์กันดูว่า  อะไรเป็นเหตุผลให้บริษัทเหล่านั้นกลับมามีกำไรกันแบบทะลุทะลวง  กำไรกันยกแผงทั้งกระดานหุ้น

1. คำสั่งซื้อ  ล้นทะลัก
 วันที่บริษัทเลห์แมน บราเธอร์ประกาศล้มละลาย  เป็นเสมือนวันที่ประเทศสหรัฐอเมริกาส่งสัญญานว่าฟองสบู่ของประเทศตนแตกแล้ว  บริษัทต่างๆทั่วโลกได้ถือวันนั้นเป็นสัญญานรีบรัดเข็มขัด  ด้วยการหยุดซื้อวัตถุดิบชั่วคราว  บริษัทที่เคยสต็อกวัตถุดิบเพื่อการผลิตไว้ 6 เดือน  อาจจะหยุดซื้อวัตถุดิบไปเลยทันที  รอให้วัตถุดิบเหลือเพียง 3 เดือนแล้วค่อยสั่งซื้อเพิ่ม

 เพราะเขารู้ว่า  ทุกครั้งที่เกิดวิกฤติ  ราคาวัตถุดิบมักจะถูกลงเสมอ  หลายบริษัทจึงพยายามลดการสำรองวัตถุดิบให้น้อยที่สุด  เพราะแน่ใจว่ายอดจำหน่ายของบริษัทต้องลดลงไปตามภาวะตลาดด้วย

 ทุกบริษัทจะรอถึงวันที่เศรษฐกิจฟื้น  เมื่อตลาดฟื้น  บริษัทเหล่านี้จะกลับมาสำรองวัตถุดิบในระดับ 6 เดือนเช่นเดิม  การที่จู่ๆจะสั่งเพิ่มวัตถุดิบจากที่มีอยู่ 3 เดือนเป็น 5-6 เดือน  ทำให้คำสั่งซื้อล้นทะลัก  ไม่ว่าบริษัทผู้ผลิตวัตถุดิบหรือสินค้าทั่วไปจะปรับราคาขึ้นได้หรือไม่  แต่เมื่อสามารถใช้กำลังผลิตได้เต็ม 100%  ผลกำไรจากการผลิตจำนวนมาก ( economy of scale ) ทำให้กำไรไหลมาเทมา

2. คู่แข่งเหลือน้อยลง
 เวลาเศษฐกิจดี  คู่แข่งใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา  พอเกิดวิกฤติเศษฐกิจ  บริษัทเล็กๆมักล้มหายตายจากไปก่อน  พอเศรษฐกิจฟื้นอีกครั้ง  ไม่เพียงแต่ยอดสั่งซื้อของลูกค้าเดิมของบริษัทจะกลับคืนมา  ลูกค้าของบริษัทคู่แข่งที่ล้มไป  ก็มารุมสั่งซื้อสินค้าของบริษัทด้ว
  

ตามปรกติอัตราการใช้กำลังผลิตของโรงงานอาจจะเคยอยู่ที่ 80%  เมื่อเกิดวิกฤติอาจลดลงมาที่ 50%  ครั้นเศรษฐกิจฟื้นอาจพุ่งมาเป็น 100%   แล้วอย่างนี้กำไรจะหายไปไหน

3. มาตรการลดต้นทุน  แสดงผล
 เวลาเศรษฐกิจไม่ดี  บริษัทห้างร้านต่างๆล้วนมีความตื่นตัวที่จะลดต้นทุนการดำเนินงาน  เช่นการลดบุคลากรที่ไม่จำเป็น  การประหยัดน้ำ-ไฟ  หรือการลดความสูญเสียวัตถุดิบในขบวนการผลิต  ในขณะที่พนักงานก็มีความกระตือรือล้นที่จะให้ความร่วมมือ เพื่อความอยู่รอดของบริษัทและตนเอง

 ความร่วมมือร่วมใจนี้  ช่วยให้บริษัทลดต้นทุนได้มาก  ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจฟื้นแล้ว  ผลของมาตรการนี้ยังดำรงอยู่  ต้นทุนลดต่ำลงในขณะที่ราคาขายของสินค้ากลับมาดีดังเดิม  ส่วนต่างที่สูงขึ้น  จะแปรรูปมาเป็นกำไรที่งดงามนั่นเอง

4. ราคาขายปรับขึ้นแล้ว แต่ราคาวัตถุดิบยังต่ำอยู่
 เวลาเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ  ทุกบริษัทพยายามจะขายสินค้าออกไปให้ได้มากที่สุดเพื่อรักษาสภาพคล่อง  ในขณะที่กำลังซื้อมีน้อย  จึงต้องใช้วิธีลดราคาสินค้า  บางครั้งต้องยอมขายขาดทุน  เพราะมีต้นทุนวัตถุดิบราคาสูงที่ซื้อไว้ก่อนหน้าในช่วงที่เศรษฐกิจยังดีอยู่

 ในทางกลับกัน  เมื่อตลาดฟื้นตัว  ผู้บริโภคต่างออกมาจับจ่ายซื้อของ  ราคาสินค้าค่อยๆปรับตัวสูงขึ้น  ในขณะที่ต้นทุนการผลิตกลับต่ำลง  เพราะวัตถุดิบที่ซื้อไว้ก่อนหน้า ตอนที่เศรษฐกิจซบเซามีราคาถูก  ( เหมือนกินบุญเก่า  จากนโยบายการลงบัญชีแบบFIFO / first in – first out ) จนกระทั่งเมื่อวัตถุดิบราคาถูกหมดไป  ราคาวัตถุดิบที่แพงขึ้นทยอยเข้ามาทดแทน  อาจจะทำให้กำไรลดลง  จนกลับสู่สมดุลของกำไรปรกติ

 นี่จึงเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของบริษัทที่มีการตุนวัตถุดิบไว้หลายๆเดือน  เมื่อถึงคราวเศรษฐกิจตกต่ำจะแสดงผลขาดทุนจนน่าตกใจ  แต่พอตลาดฟื้น ก็จะแสดงผลกำไรอย่างน่าอัศจรรย์  เข้าลักษณะบุญทำกรรมเก่านั่นเอง

5. ต้นทุนทางการเงินยังไม่ปรับขึ้น
 หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจสักระยะหนึ่ง  ดอกเบี้ยในตลาดการเงินมักจะลดต่ำลง  ตามอุปสงค์การใช้เงินที่ลดน้อยลง  ไม่ว่าดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคาร  หรือดอกเบี้ยหุ้นกู้ที่บริษัทเสนอขายให้ประชาชน 

แต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว  บางครั้งคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยอาจยังไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะฟื้นจริง  จึงชลอการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปก่อน  ในระหว่างนี้บริษัทจึงได้รับอานิสงส์จากต้นทุนทางการเงินที่ยังต่ำ  ทั้งที่ปรับราคาสินค้าขึ้นไปแล้ว  ยิ่งถ้าบริษัทไหนได้ออกหุ้นกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาวเอาไว้มาก  เท่ากับได้เงินทุนต้นทุนต่ำไว้ใช้หลายปีทีเดียว

6. อานิสงส์จากมาตรการช่วยเหลือของรัฐ
 ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ  รัฐมักออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการระดับต่างๆ  บางครั้งเมื่อเศรษฐกิจฟื้นแล้ว  แต่มาตรการของรัฐยังไม่หมดอายุ  เช่นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ  การลดหย่อนภาษี หรือการลดเงินสมทบประกันสังคม  ทำให้บริษัทเหล่านี้ยังคงมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำ  ขณะที่รายได้กลับเข้าสู่ระดับปกติแล้ว  ทำให้กำไรสุทธิที่ได้ ขยับสูงขึ้น

7. ได้เวลานำผลวิจัยมาใช้
 บริษัทส่วนใหญ่มีแผนกวิจัยและพัฒนา   บางครั้งได้มีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมาแล้ว  แต่ตลาดไม่เอื้ออำนวยต่อการวางสินค้า เพราะเศรษฐกิจซบเซา   จึงต้องรอเศรษฐกิจฟื้น

 ครั้นเมื่อเศรษฐกิจฟื้น  บริษัทเหล่านี้ก็จะทำการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่กันอย่างเอิกเกริก  สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ  เนื่องจากผลิตภัณฑ์ใหม่มักมีกำไร(มาร์จิ้น)มากกว่าปรกติ  เพราะยังไม่มีคู่แข่ง  จึงสามารถตั้งราคาได้ตามใจชอบ

8. เศรษฐกิจฟื้น  ลูกหนี้กลับมาใช้หนี้
 ช่วงเศรษฐกิจไม่ดี  มักมีปัญหาสภาพคล่อง  ลูกหนี้ของบริษัทโดยเฉพาะรายย่อยอาจจะหมุนเงินไม่ทัน  ทำให้ขาดการชำระหนี้  หรือ อาจจะขอยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไป  บางรายยืดเวลาออกไปนานมาก  จนต้องลงบัญชี ตั้งสำรองเป็นหนี้สูญ  เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไร  เขาจะมีเงินมาจ่ายหนี้

 วันดีคืนดี  เมื่อเศรษฐกิจฟื้น  ลูกหนี้ที่ไม่ได้มีเจตนาคตโกง  ก็จะกลับมาใช้หนี้  หรือขอประนอมหนี้  ทำให้บริษัทได้รับเงินสินเชื่อที่ปล่อยให้ลูกค้ากลับคืนมา  เงินที่คิดว่าสูญไปแล้ว  กลับกลายมาเป็นรายได้  ทำให้กำไรของบริษัทพุ่งทะยานได้

9. มีประสบการณ์ รับมือวิกฤติ
 ข้อสุดท้าย  แต่ว่าสำคัญที่สุด  คือ  บริษัทใหญ่ๆของไทย ส่วนใหญ่เคยผ่านวิกฤติเศรษฐกิจมาแล้ว  โดยเฉพาะวิกฤติต้มยำกุ้ง  ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงและรุนแรง  ผู้บริหารบริษัทล้วนยังเข็ดหลาบกับสิ่งที่เกิดขึ้น

 ดังนั้นเมื่อมีสัญญานเตือนว่า  กำลังจะเกิดวิกฤติครั้งใหม่ในสหรัฐ หรือแม้แต่ในยุโรป  บริษัทเหล่านี้ จะหยุดความเสี่ยงทันที ด้วยการหยุดสต็อกสินค้า  ทำประกันความเสี่ยงค่าเงิน หาตลาดใหม่ๆมาทดแทน หรือแม้แต่ตัดวงเงินเครดิตของลูกค้าที่มีความเสี่ยงแบบฉับพลัน

 ผลที่ปรากฏออกมา  จึงเป็นว่า บริษัทใหญ่ๆของไทยแทบไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤติแฮมเบอเกอร์ที่เกิดขึ้นเลย  และพร้อมที่จะผงาดขึ้นทันทีที่ตลาดโลกฟื้นตัว

 จากปัจจัยต่างๆที่กล่าวมา  แต่ละบริษัทคงไม่สามารถที่จะมีปัจจัยบวกเหล่านี้ครบทุกข้อ  บางบริษัทมีปัจจัยบวกมากถึง 5 ข้อ ขณะที่บางบริษัทอาจมีปัจจัยบวกเพียงข้อเดียว  แต่มันก็เพียงพอที่ทำให้กำไรของบริษัทพุ่งพรวดจนสะดุดตาได้

 หวังว่ามันจะให้คำตอบแก่เราได้ว่า  ทำไม  กำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา จึงเติบโตถึง 85% ผลักดันให้ GDP ไตรมาสแรกของไทยพุ่งทะยาน 12% ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในรอบ 15 ปี

 และในเวลาเดียวกันก็เป็นคำตอบว่า  ฝรั่งเทขายหุ้นไปแล้วกว่า 5 หมื่นล้านบาทในพฤษภาคมเดือนเดียว  ทำไมหุ้นถึงลงไม่มาก 

คนที่ยิ้มแก้มปริ  คงเป็นรัฐมนตรีคลัง กรณ์ จาติกวณิช  ไม่รู้ว่าอย่างนี้  จะเรียกว่ามีฝีมือ หรือส้มหล่นดี  เอาเป็นว่า เก่งด้วย เฮงด้วย ก็แล้วกัน




บทความน่าสน

Domain names for sale article
ขุมทรัพย์ในกรมธรรม์
ทองคำ ฤาจะหมดมนต์ขลัง
Dollar Carry Trade แผลงฤทธิ์
กรมธรรม์บำนาญ เรื่องใกล้ตัวที่คุณควรรู้ article
ทำไม ทองยังคงทำสถิติราคาสูงสุดใหม่ article
ทำไม หุ้นจึงพุ่ง สวนทางม็อบ article
เฟดขึ้นดอกเบี้ย มั่นใจพ้นจุดต่ำสุด article
5 ศตวรรษของฟองสบู่โลก
บริจาคอย่างไร หักภาษีได้ 2 เท่า
ทำไม ราคาทองคำจึงพุ่งไม่หยุด
MACD สาเหตุที่แท้จริงในตลาดหุ้น
เงินรองรัง เท่าไรถึงพอ
นักลงทุนทิ้งเงินดอลลาร์ มุ่งลงทุนสินทรัพย์อื่น
เงินที่หล่นหาย
สมาคมตัวแทนเตรียมจัดงานสัมมนาระดับโลก
5 คำแนะนำในการซื้อบ้านที่ถูกยึด
พันธบัตร 10 ปีของสหรัฐ พุ่งแตะ 3.71%
วิกฤตการเงินระลอกสอง article
AIG ถึงคราวต้องล้ม ?
เงินสิบบาท
ช่วยด้วย ฉันซื้อประกันไว้กับ AIG
ช่วยใช้เงินหน่อย
เตือนรัฐรับวิกฤติผู้สูงอายุ
ข่าวดีและข่าวร้ายจากเฟด
CDS ดินระเบิดวิกฤติปี 2008 article
สัญญาเพิ่มเติมในประกันชีวิต หักภาษีไม่ได้แล้ว
จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าฟองสบู่อเมริกาแตก
มาวางแผนเกษียณอายุกันเถอะ article
วิธีเป็นเศรษฐีเงินล้าน article
หลักทรัพย์ที่ควรร้จัก
สปส.ปรับเพิ่มเงินบำนาญชราภาพ article
AIG มาถึงวันนี้ได้อย่างไร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.