ReadyPlanet.com
dot dot
dot
วางแผนการเงิน
dot
bulletทำไมต้องวางแผนการเงิน
dot
วางแผนเกษียณอายุ
dot
bulletวางแผนเกษียณอย่างง่าย
dot
วางแผนภาษีอากร
dot
bulletทำไมต้องวางแผนภาษี
bulletเทคนิควางแผนภาษีส่วนบุคคล
bulletเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
bulletค่าใช้จ่ายของแต่ละอาชีพ
bulletสิทธิหักลดหย่อนภาษี
bulletวิธีคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา
dot
วางแผนการลงทุน
dot
bulletข้อคิดก่อนลงทุน
bulletการจัดพอร์ตลงทุน
dot
วางแผนการประกัน
dot
bulletหลักพื้นฐานการประกันภัย
bulletประกันชีวิตเท่าไรถึงพอ
dot
Newsletter

dot




บริจาคอย่างไร หักภาษีได้ 2 เท่า

        คนไทยเป็นคนใจบุญ  หากพอจะมีเงินเหลือกิน เหลือเก็บ  ก็มักจะบริจาคเงินให้วัด ให้โรงเรียน  นับเป็นการสร้างเนื้อนาบุญทิ้งไว้  ด้วยเชื่อว่า ชาติหน้าจะได้ไม่ลำบาก  
 

        แต่ไหนๆก็จะบริจาคเงินช่วยเหลือสังคมอยู่แล้ว  หากเงินก้อนนี้ช่วยให้เราลดหย่อนภาษีได้คงจะเป็นการดี  และจะเป็นการดียิ่งขึ้น  หากเราสามารถทำให้เงินบริจาคก้อนนี้สร้างสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้สูงสุด

        หากเราไปดูใบแบบฟอร์ม ภงด.90 ของกรมสรรพากรที่พวกเราใช้กรอกเสียภาษีบุคคลธรรมดานั้น  จะพบว่ารัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้คนที่พอจะมีกินมีใช้  ช่วยกันบริจาคเงินช่วยเหลือสังคม  โดยการอนุญาตให้นำเงินที่เราบริจาคนั้นไปหักลดหย่อนภาษีได้ทั้งจำนวน  แต่ไม่เกิน 10%ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว

        เงินบริจาคที่รัฐอนุญาตให้ใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีนั้น  มีอยู่ 3 หมวดดังนี้
       1. เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา
        ได้แก่  เงินที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาให้แก่สถานศึกษาของรัฐ  ( ตามที่รมต.คลังกำหนด )  โรงเรียนเอกชน  และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน  ต้องเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดหาที่ดิน  จัดสร้างอาคาร  จัดหาวัสดุอุปกรณ์การศึกษา  โดยจะได้รับการลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า  แต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้  หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนหมวดต่างๆแล้ว
        2. เงินสนับสนุนการกีฬา
        ได้แก่  เงินสนับสนุนการกีฬาตามที่รัฐกำหนด  โดยสามารถหักค่าลดหย่อนได้ 1.5 เท่าของเงินบริจาค  แต่ไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน  โดยเงินบริจาคนี้มีกรอบเวลากำหนดให้ใช้ได้ในระหว่างปีภาษี 2548 – 2551  นั่นหมายความว่าปัจจุบันโครงการนี้ได้หมดอายุลงแล้ว  จึงไม่สามารถลดหย่อนได้อีก
        3. เงินบริจาคการกุศลสาธารณะ
        ได้แก่  เงินที่บริจาคให้วัดวาอาราม  สถานสาธารณกุศล  สถานพยาบาล  สถานการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน  โดยหักลดหย่อนได้กับจำนวนที่จ่ายจริง  แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย  ค่าลดหย่อนและเงินบริจาคในข้อ 1 และ 2 ข้างต้นแล้ว

         ดังนั้น  เมื่อดูรายการทั้ง 3 หมวด  จะพบว่าหมวดที่ 1 คือเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา  ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด คือ 2 เท่าของยอดเงินที่บริจาค  (ขณะที่หมวดที่ 2 ยกเลิกสิทธิไปแล้ว )
         อย่างไรก็ตาม  ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนบริจาค  ได้แก่  รายชื่อสถานศึกษาที่สามารถลดหย่อนได้ 2 เท่า  และ วัตถุประสงค์ของการบริจาคว่า  เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง  ซึ่งท่านสามารถตรวจสอบได้โดยการคลิ๊กหัวข้อเหล่านี้ท้ายบทความ
         และเพื่อให้ท่านมั่นใจว่า  ท่านได้เข้าใจหลักการของประมวลรัษฎากรเรื่องนี้อย่างแจ่มชัด  ทั้งยังสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง  ทาง  Thai Financial Advisor.com จึงได้คัดพระราชกฤษฎีกาเรื่องนี้มาให้อ่านดังนี้

พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 420)
พ.ศ. 2547
--------------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2547
เป็นปีที่ 59 ในรัชกาลปัจจุบัน


                พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

                 โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่ผู้สนับสนุนการศึกษาบางกรณี

                 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 221 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้

                 มาตรา  1   พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2547”

                 มาตรา  2   พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

                 มาตรา  3   ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 2 และส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาให้แก่สถานศึกษาของ ทางราชการ สถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล โรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ดังนี้

                      (1) สำหรับบุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนตามมาตรา 47(1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนดังกล่าวนั้น

                      (2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เป็นจำนวนเงินหรือมูลค่าของทรัพย์สินเป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร

                            ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

                            ค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ และเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับรายการดังต่อไปนี้

                      (1) จัดหาหรือจัดสร้างอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือที่ดินให้แก่สถานศึกษา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา

                      (2) จัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษา แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้แก่สถานศึกษา ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด

                      (3) จัดหาครู อาจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา หรือเป็นทุนการศึกษา การประดิษฐ์ การพัฒนา การค้นคว้า หรือการวิจัย สำหรับนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาของสถานศึกษา ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 476) พ.ศ. 2551 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป)

                 มาตรา  4   ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 2 และส่วน 3 หมวด 3 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามหมวด 4 ภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด 5 และอากรแสตมป์ตามหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บุคคลธรรมดา หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า หรือสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการดำเนินการสนับสนุนการศึกษา ตามโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบตามมาตรา 3 โดยผู้โอนจะต้องไม่นำต้นทุนของทรัพย์สินหรือสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

                 มาตรา  5   ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี

 

        หวังว่าจากนี้ไป  เราจะสามารถวางแผนภาษีโดยการใช้เงินบริจาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มั่นใจ  และอยากให้ช่วยกันบอกต่อๆไป  เพื่อที่จะให้มีคนบริจาคเยอะๆ

        ท่านทั้งหลายครับ 
        จากการอ่านประวัติบุคคลที่ประสบความสำเร็จเป็นมหาเศรษฐีในหลายๆประเทศ  มักจะพบข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งว่า   ท่านเหล่านั้นล้วนเป็นนักบริจาคตัวยง  หลายคนมีหลักคิดว่า  ในแต่ละปี  หากทำกำไรได้เท่าไร  ให้บริจาคออกไป 10-30% ของกำไรเสมอ   และผลบุญนั้นก็จะย้อนกลับไปหนุนนำให้ชีวิตของผู้บริจาคประสบแต่สิ่งดีๆ  มีความสำเร็จมากยิ่งๆขึ้น
         ข้อความข้างต้น  ท่านจะเชื่อหรือไม่เชื่อ  ไม่เป็นไรครับ  แต่สำหรับผม  ผมได้ข้อสรุปว่า  “ผู้ให้ย่อมมีความสุข  อิ่มทั้งบุญ  แถมทุ่นภาษี”  และเชื่อมั่นว่า  ข้อสรุปนี้ไม่ต้องพิสูจน์ครับ

หมายเหตุ  รายชื่อสถานศึกษาของรัฐที่สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า          http://www.rd.go.th/publish/28654.0.html


 




บทความน่าสน

Domain names for sale article
ขุมทรัพย์ในกรมธรรม์
ทองคำ ฤาจะหมดมนต์ขลัง
Dollar Carry Trade แผลงฤทธิ์
กรมธรรม์บำนาญ เรื่องใกล้ตัวที่คุณควรรู้ article
ฝรั่งทิ้งหุ้นกว่า 5 หมื่นล้าน ทำไมหุ้นไทยถึงไม่ลง(มาก) article
ทำไม ทองยังคงทำสถิติราคาสูงสุดใหม่ article
ทำไม หุ้นจึงพุ่ง สวนทางม็อบ article
เฟดขึ้นดอกเบี้ย มั่นใจพ้นจุดต่ำสุด article
5 ศตวรรษของฟองสบู่โลก
ทำไม ราคาทองคำจึงพุ่งไม่หยุด
MACD สาเหตุที่แท้จริงในตลาดหุ้น
เงินรองรัง เท่าไรถึงพอ
นักลงทุนทิ้งเงินดอลลาร์ มุ่งลงทุนสินทรัพย์อื่น
เงินที่หล่นหาย
สมาคมตัวแทนเตรียมจัดงานสัมมนาระดับโลก
5 คำแนะนำในการซื้อบ้านที่ถูกยึด
พันธบัตร 10 ปีของสหรัฐ พุ่งแตะ 3.71%
วิกฤตการเงินระลอกสอง article
AIG ถึงคราวต้องล้ม ?
เงินสิบบาท
ช่วยด้วย ฉันซื้อประกันไว้กับ AIG
ช่วยใช้เงินหน่อย
เตือนรัฐรับวิกฤติผู้สูงอายุ
ข่าวดีและข่าวร้ายจากเฟด
CDS ดินระเบิดวิกฤติปี 2008 article
สัญญาเพิ่มเติมในประกันชีวิต หักภาษีไม่ได้แล้ว
จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าฟองสบู่อเมริกาแตก
มาวางแผนเกษียณอายุกันเถอะ article
วิธีเป็นเศรษฐีเงินล้าน article
หลักทรัพย์ที่ควรร้จัก
สปส.ปรับเพิ่มเงินบำนาญชราภาพ article
AIG มาถึงวันนี้ได้อย่างไร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.