ReadyPlanet.com
dot dot
dot
วางแผนการเงิน
dot
bulletทำไมต้องวางแผนการเงิน
dot
วางแผนเกษียณอายุ
dot
bulletวางแผนเกษียณอย่างง่าย
dot
วางแผนภาษีอากร
dot
bulletทำไมต้องวางแผนภาษี
bulletเทคนิควางแผนภาษีส่วนบุคคล
bulletเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
bulletค่าใช้จ่ายของแต่ละอาชีพ
bulletสิทธิหักลดหย่อนภาษี
bulletวิธีคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา
dot
วางแผนการลงทุน
dot
bulletข้อคิดก่อนลงทุน
bulletการจัดพอร์ตลงทุน
dot
วางแผนการประกัน
dot
bulletหลักพื้นฐานการประกันภัย
bulletประกันชีวิตเท่าไรถึงพอ
dot
Newsletter

dot




เงินรองรัง เท่าไรถึงพอ

         ปัญหาการเกษียณอายุกำลังเป็นวาระแห่งชาติของเกือบทุกประเทศทั่วโลก  ข่าวดี คือ คนไทยเริ่มตื่นตัวเตรียมเงินรองรังยามเกษียณกันมากขึ้น  ข่าวร้าย คือ คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า  ถ้ามีเงินสัก 1 ล้านบาท ก็น่าจะเพียงพอ

         ฝรั่งเขามีคำเรียกเงินที่เตรียมไว้ใช้ยามเกษียณอายุว่า “ Retirement nest egg ” ซึ่งบังเอิญมาสอดคล้องกับคำไทยว่า “เงินรองรัง”
         หากไปเปิดพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน ปี พ.ศ.2542  ท่านได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “รองรัง” หมายถึง “มีสำรองไว้ไม่ให้ขาด” ซึ่งผู้เขียนมั่นใจว่า  ต่อไปคนไทยเราจะใช้คำว่า “เงินรองรัง” เพื่อสื่อความหมายถึงเงินเก็บไว้ใช้ยามเกษียณอายุมากขึ้น


         แน่นอนว่า เงินรองรังยามเกษียณของแต่ละบุคคลย่อมไม่เท่ากัน  ขึ้นกับฐานะ, มาตรฐานการใช้ชีวิต และเงินออมที่สามารถเก็บได้  ในบทความนี้ จะสอนวิธีคำนวณเงินรองรังที่เหมาะสมกับฐานะของแต่ละคน  ว่าในอนาคต เราควรจะมีเงินเก็บเท่าไร และต้องมีสำรองไว้ใช้จ่ายกี่ปี
         วิธีคำนวณค่าใช้จ่ายในอนาคต  นักการเงินได้ข้อสรุปตรงกันว่า  ให้ใช้ตัวเลขรายจ่ายในปัจจุบันเป็นฐานในการคำนวณ  เพราะเราเชื่อว่ามาตรฐานการดำรงชีพของแต่ละคน มักไม่ค่อยเปลี่ยนไปเท่าไรถึงแม้จะเกษียณอายุไปแล้ว  เพียงแต่ค่าใช้จ่ายบางอย่างอาจจะลดลง หรือหายไปเลย เช่น ค่างวดผ่อนบ้าน ค่าเล่าเรียนลูก  ขณะที่ค่าใช้จ่ายบางอย่างอาจจะสูงขึ้น เช่น ค่าประกันสุขภาพ, ค่ารักษาพยาบาล ( ส่วนที่เบิกไม่ได้ ) หรือ เงินทำบุญ เป็นต้น
         ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของแต่ละบุคคลที่จะต้องเขียนค่าใช้จ่ายต่างๆที่คาดว่าจะมีในยามเกษียณออกมา  แล้วประมาณการว่า ณ ราคาปัจจุบัน  ค่าใช้จ่ายนั้นจะตกประมาณเท่าไร

ขั้นตอนที่ 1  หาค่าใช้จ่ายต่อเดือน ณ เวลาปัจจุบัน 

ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ณ วันเกษียณ

ค่าใช้จ่าย ณ ราคาปัจจุบัน

อัตราเงินเฟ้อ

ค่าใช้จ่ายยามเกษียณ

ค่าอาหาร

 

2 %

 

ค่าเสื้อผ้า

 

1 %

 

ค่าบำรุงรักษารถ

 

4 %

 

ค่าสินค้าอุปโภค

 

3 %

 

ค่าท่องเที่ยว

 

5 %

 

ค่าน้ำ,ไฟ,การสื่อสาร

 

1 %

 

ค่ารักษาพยาบาล

 

8 %

 

ค่าเบี้ยประกันชีวิต

 

2 %

 

อื่นๆ

 

3 %

 

รวม

 

3 %

 

         จากตารางคำนวณค่าใช้จ่าย  สังเกตุว่า  เราได้ให้รายการค่าใช้จ่ายต่างๆเป็นตัวอย่างไว้  ทั้งยังมีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยสำหรับค่าใช้จ่ายหมวดนั้นๆ   ท่านสามารถหาราคาในอนาคตได้โดยการนำค่าใช้จ่ายในราคาปัจจุบัน ไปคูณกับตัวแปรเงินเฟ้อ ( Inflation Factor ) ที่ให้ไว้ในตารางท้ายบทความนี้  เพื่อเปลี่ยนให้เป็นราคาในอนาคต

ขั้นตอนที่ 2  หาค่าใช้จ่ายต่อเดือน ณ วันที่เกษียณอายุ
        ค่าใช้จ่าย ณ วันเกษียณ  =  ค่าใช้จ่ายปัจจุบัน  x  ตัวแปรเงินเฟ้อ
   

         การหาราคาในอนาคตของค่าใช้จ่าย  สามารถทำได้ 2 วิธี
        1. วิธีคำนวณรวม
        โดยการนำค่าใช้จ่ายทั้งหมดในราคาปัจจุบัน  รวมกันได้เป็นตัวเลขค่าใช้จ่ายรวม  แล้วคูณด้วยตัวแปรเงินเฟ้อเฉลี่ยที่ 3%
        ถามว่า  ทำไมให้ใช้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่ 3%  เนื่องจากประเทศที่พัฒนาแล้ว  อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยจะอยู่ที่ 2%  ส่วนประเทศเกิดใหม่ อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 4-5% ประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนไปเป็นประเทศพัฒนา  การใช้ค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อที่ 3% คิดว่าน่าจะเหมาะสม 
        ส่วนวิธีหาตัวแปรเงินเฟ้อ  ให้ดูว่าอีกกี่ปีเราจึงจะเกษียณอายุ  ถ้าอีก 15 ปี จึงจะเกษียณ  ให้ดูช่องเงินเฟ้อเฉลี่ย 3% ไล่ลงไปปีที่ 15  จะได้ตัวแปรเงินเฟ้อเท่ากับ 1.5580  ให้นำยอดค่าใช้จ่ายรวมราคาปัจจุบันคูณด้วยตัวแปรเงินเฟ้อนี้  ก็จะได้ยอดค่าใช้จ่ายในราคาอีก 15 ปีข้างหน้า
         ยกตัวอย่าง เช่น เรารวมค่าใช้จ่ายต่อเดือนในราคาปัจจุบันได้ที่ 20,000 บาท  และเราจะเกษียยณอายุในอีก 15 ปีข้างหน้า  ก็ให้นำตัวเลข 20,000 บาท ไปคูณด้วยตัวแปรเงินเฟ้อ ณ ปีที่ 15 ซึ่งเท่ากับ 1.5580  ได้ตัวเลขออกมาเป็น 31,160 บาท  จะเห็นได้ว่าการที่จะทำให้มีกำลังซื้อ( purchasing power )ออกมาเท่าเดิม  ในอีก  15 ปีข้างหน้า  เราต้องเพิ่มเงินเข้าไปอีกกว่า 50% (จึงจะซื้อของได้ในปริมาณเท่าเดิม)
        วิธีการคำนวณแบบนี้  ง่ายและสะดวก  เหมาะสำหรับการคำนวณที่ต้องการใช้เวลาสั้นๆ  เช่นเวลาที่ตัวแทนประกันชีวิต ต้องการคำนวณให้ลูกค้าเห็นว่า  ค่าใช้จ่ายในปัจจุบันของเขา  อีก 15 ปีข้างหน้า  จะเพิ่มขึ้นเป็นยอดเงินเท่าไร  ก็สามารถเปิดตารางแล้วคำนวณให้ได้คำตอบใน 30 วินาที
        แต่ถ้าบังเอิญเราจะเกษียณอายุในอีก 30 ปีข้างหน้า  ขณะที่ตารางตัวแปรเงินเฟ้อมีเพียง 20 ปี  เราก็ยังสามารถคำนวณออกมาได้  โดยการนำค่าใช้จ่าย คูณด้วยตัวแปรเงินเฟ้อ ณ ปีที่ 20 ก่อน  ได้ออกมาเป็นค่าใช้จ่ายปีที่ 20  จากนั้น  นำตัวเลขที่ได้ไปคูณด้วยตัวแปรเงินเฟ้อ ณ ปีที่ 10  เพื่อหาราคาในอีก 10 ถัดมา  ทำอย่างนี้  ก็จะได้ค่าใช้จ่ายของราคาในอีก 30 ปีข้างหน้า

        2. วิธีคำนวณแยกรายการ
        วิธีนี้  นักวางแผนการเงินมักจะใช้กัน  เพราะสามารถคำนวณได้ใกล้เคียงความจริงมากยิ่งขึ้น  เนื่องจากในความเป็นจริง  แต่ละบุคคลย่อมมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไปตามไลฟ์ไสตล์  บางคนอาจต้องการไปออกกำลังที่สปอร์ตคลับทุกวัน  ขณะที่บางคนอาจมีภาระเลี้ยงดูพ่อแม่ที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือ ตนเองอาจมีโรคประจำตัวที่เบิกค่ารักษาพยาบาลไม่ได้
        การที่หมวดค่าใช้จ่ายต่างกัน  มีอัตราเงินเฟ้อที่ต่างกัน  ทำให้อัตราการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายรวมไม่เท่ากัน  เช่นอาหารโดยทั่วไปมีอัตราการขยายตัวของราคาประมาณ 2%ต่อปี  ขณะที่ค่ารักษาพยาบาล อาจมีอัตราเงินเฟ้อ 8-10% ต่อปี
        วิธีการจึงต้องนำค่าใช้จ่ายแต่ละรายการมาคูณด้วยตัวแปรเงินเฟ้อ  ที่แยกไปตามอัตราเงินเฟ้อของแต่ละหมวด  จากนั้นนำค่าใช้จ่ายในราคาอนาคตของแต่ละหมวดมารวมกัน  ก็จะได้ค่าใช้จ่ายรวม ณ วันเกษียณ
        ในต่างประเทศ  จะมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์คำนวณค่าใช้จ่ายเหล่านี้  เพียงแต่ป้อนข้อมูล ค่าใช้จ่ายแต่ละรายการ  อัตราเงินเฟ้อที่เราคิดว่าจะเกิดขึ้น  อายุปัจจุบันของเรา และอายุที่เราคิดว่าจะเกษียณอายุ  จากนั้นให้กดคำว่า “ ENTER”  ค่าใช้จ่ายรวม ณ ราคาในวันเกษียณก็จะออกมาเสร็จสรรพ  แต่สำหรับพวกเรา ก็ค่อยๆกดเครื่องคิดเลข  ทำด้วยระบบมือของเราไปก่อน
        เมื่อได้ยอดค่าใช้จ่ายต่อเดือน ณ วันเกษียณแล้ว  ขั้นตอนต่อไปคือ  การหายอดเงินรองรัง  โดยการนำค่าใช้จ่ายที่ได้ไปคูณด้วย 12 เพื่อทำให้เป็นค่าใช้จ่ายต่อปี  แล้วคูณด้วย 20 เพื่อหายอดเงินเก็บสำหรับไว้ใช้ในวันเกษียณ

ขั้นตอนที่ 3  หาเงินรองรังที่ต้องมี ณ วันเกษียณอายุ
              เงินรองรัง  =   ค่าใช้จ่ายต่อเดือน  x 12   x 20
 

        ถามว่า  ทำไมจึงใช้ตัวเลข 20 เป็นตัวคูณในการหาเงินรองรังยามเกษียณ  คำตอบคือ
        แนวคิดที่ 1  มาจากความคิดที่ว่า  อายุโดยเฉลี่ยหลังวันเกษียณของคนไทยอยู่ที่ 20 ปี  นั่นหมายความว่า  เราได้เตรียมค่าใช้จ่ายไว้ล่วงหน้า 20 ปีแล้ว
        บางคนอาจจะแย้งว่า  เงินก้อนนี้ สามารถนำไปหาดอกผลได้  ทำไมไม่นำดอกผลมาคำนวณด้วยหรือ  ขอเรียนว่า  ผลตอบแทนที่ได้จะไปหักล้างกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี  จนทำให้ไม่เกิดเงินเพิ่มขึ้นอย่างที่หวัง  หากเป็นนักวางแผนการเงินมืออาชีพจะคำนวณตัวแปรเหล่านี้โดยละเอียด  แต่สำหรับคนทั่วๆไป  เราขอแนะนำให้คำนวณเพียงเท่านี้ก็พอ
        แนวคิดที่ 2  มาจากความคิดที่ว่า  ถ้าหากเราสามารถใช้เงินรองรังไปลงทุนหาผลตอบแทน  แล้วได้ดอกผลพอเป็นค่าใช้จ่ายได้ทุกปี  ก็น่าจะสร้างความสบายใจให้กับผู้เกษียณอายุ
        ในทางการเงิน  เราถือว่าการลงทุนใดๆที่ให้ผลตอบแทนถึง 5% โดยไม่มีความเสี่ยง หรือมีความเสี่ยงน้อยมาก  เช่น การซื้อพันธบัตร หรือการลงทุนในกองทุนรวม  นับได้ว่าน่าพอใจ
        ดังนั้น ถ้าเราสามารถลงทุนแล้วได้ผลตอบแทน 5%จริง  ถามว่าต้องมีเงินต้นเท่าไร จึงจะให้ดอกผลเพียงพอกับเงินที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละปี 
        ดอกผล 5%  คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 20 ของเงินต้น  ดังนั้นถ้าอยากรู้ว่าต้องมีเงินต้นเท่าไร  ให้นำ 20 ไปคูณด้วยดอกผลที่ต้องการ  นี่จึงเป็นที่มาว่า  ทำไมเมื่อหาค่าใช้จ่ายต่อปีได้แล้ว  จึงนำไปคูณด้วยตัวเลข 20
        ส่วนกรณีที่มีคนถามว่า  แล้วจะใช้เพียงดอกผลที่เกิดขึ้น  แต่ไม่ใช้เงินต้นที่อุตส่าห์เก็บสะสมมาเลยหรือ  คำตอบก็คงเหมือนที่ได้ตอบในแนวคิดก่อนหน้านี้  คือ  อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น  จะทำให้ค่าใช้จ่ายแต่ละปีเพิ่มขึ้น และเพื่อให้มีกำลังซื้อเท่าเดิม  เราจึงต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในแต่ละปี โดยมันจะค่อยๆไปกัดกินเงินต้นจนหมดในที่สุดเช่นกัน
         หากเราได้ทำตามขั้นตอนที่กล่าวมา  เราก็สามารถรู้ยอดเงินรองรังที่ต้องมีเมื่อยามเกษียณ  ผมเชื่อว่า เกือบทุกคนเมื่อเห็นตัวเลขแล้วคงจะตกใจว่า  ทำไม ตัวเลขที่ได้จึงสูงเช่นนี้  แต่ผมกลับคิดว่านี่เป็นเรื่องที่ดี  ที่เราได้รู้ยอดเงินล่วงหน้า  จะได้เตรียมตัวแต่เนิ่นๆ
          ตอนเก็บเงินอาจจะเหนื่อยหน่อย  แต่ “ลำบากเมื่อหนุ่ม  ดีกว่ากลุ้มเมื่อแก่” ครับ

หมายเหตุ   ข้อมูลจากสถาบันประชากรและสังคม  ม.มหิดล   สำหรับปี พ.ศ. 2552

อายุเฉลี่ยของคนไทย  (Life Expectancy at Birth)

        ชาย     มีอายุเฉลี่ย    69.5  ปี

        หญิง    มีอายุเฉลี่ย   76.3  ปี

ช่วงเวลาคาดการณ์หลังอายุ 60 ปี  (Life Expectancy at Sixty)

        ชาย   หลังอายุ 60 ปี   อยู่ได้อีกเฉลี่ย  19.4  ปี  

        หญิง  หลังอายุ 60 ปี  อยู่ได้อีกเฉลี่ย  21.9  ปี

 

 

ค่าใช้จ่ายในอนาคต  ของสินค้าราคา 1 บาท ในปัจจุบัน

 

ระยะเวลา....ปี

1 %

2 %

3 %

4 %

5 %

6 %

7 %

8 %

1

1.0100

1.0200

1.0300

1.0400

1.0500

1.0600

1.0700

1.0800

2

1.0201

1.0404

1.0609

1.0816

1.1025

1.1236

1.1449

1.1664

3

1.0303

1.0612

1.0927

1.1249

1.1576

1.1910

1.2250

1.2597

4

1.0406

1.0824

1.1255

1.1699

1.2155

1.2625

1.3108

1.3605

5

1.0510

1.1041

1.1593

1.2167

1.2763

1.3382

1.4026

1.4693

6

1.0615

1.1262

1.1941

1.2653

1.3401

1.4185

1.5007

1.5869

7

1.0721

1.1487

1.2299

1.3159

1.4071

1.5036

1.6058

1.7138

8

1.0829

1.1717

1.2668

1.3686

1.4775

1.5938

1.7182

1.8509

9

1.0937

1.1951

1.3048

1.4233

1.5513

1.6895

1.8385

1.9990

10

1.1046

1.2190

1.3439

1.4802

1.6289

1.7908

1.9672

2.1589

11

1.1157

1.2434

1.3842

1.5395

1.7103

1.8983

2.1049

2.3316

12

1.1268

1.2682

1.4258

1.6010

1.7959

2.0122

2.2522

2.5182

13

1.1381

1.2936

1.4685

1.6651

1.8856

2.1329

2.4098

2.7196

14

1.1495

1.3195

1.5126

1.7317

1.9799

2.2609

2.5785

2.9372

15

1.1610

1.3459

1.5580

1.8009

2.0789

2.3966

2.7590

3.1722

16

1.1726

1.3728

1.6047

1.8730

2.1829

2.5404

2.9522

3.4259

17

1.1843

1.4002

1.6528

1.9479

2.2920

2.6928

3.1588

3.7000

18

1.1961

1.4282

1.7024

2.0258

2.4066

2.8543

3.3799

3.9960

19

1.2081

1.4568

1.7535

2.1068

2.5270

3.0256

3.6165

4.3157

20

1.2202

1.4859

1.8061

2.1911

2.6533

3.2071

3.8697

4.6610

 


 




บทความน่าสน

Domain names for sale article
ขุมทรัพย์ในกรมธรรม์
ทองคำ ฤาจะหมดมนต์ขลัง
Dollar Carry Trade แผลงฤทธิ์
กรมธรรม์บำนาญ เรื่องใกล้ตัวที่คุณควรรู้ article
ฝรั่งทิ้งหุ้นกว่า 5 หมื่นล้าน ทำไมหุ้นไทยถึงไม่ลง(มาก) article
ทำไม ทองยังคงทำสถิติราคาสูงสุดใหม่ article
ทำไม หุ้นจึงพุ่ง สวนทางม็อบ article
เฟดขึ้นดอกเบี้ย มั่นใจพ้นจุดต่ำสุด article
5 ศตวรรษของฟองสบู่โลก
บริจาคอย่างไร หักภาษีได้ 2 เท่า
ทำไม ราคาทองคำจึงพุ่งไม่หยุด
MACD สาเหตุที่แท้จริงในตลาดหุ้น
นักลงทุนทิ้งเงินดอลลาร์ มุ่งลงทุนสินทรัพย์อื่น
เงินที่หล่นหาย
สมาคมตัวแทนเตรียมจัดงานสัมมนาระดับโลก
5 คำแนะนำในการซื้อบ้านที่ถูกยึด
พันธบัตร 10 ปีของสหรัฐ พุ่งแตะ 3.71%
วิกฤตการเงินระลอกสอง article
AIG ถึงคราวต้องล้ม ?
เงินสิบบาท
ช่วยด้วย ฉันซื้อประกันไว้กับ AIG
ช่วยใช้เงินหน่อย
เตือนรัฐรับวิกฤติผู้สูงอายุ
ข่าวดีและข่าวร้ายจากเฟด
CDS ดินระเบิดวิกฤติปี 2008 article
สัญญาเพิ่มเติมในประกันชีวิต หักภาษีไม่ได้แล้ว
จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าฟองสบู่อเมริกาแตก
มาวางแผนเกษียณอายุกันเถอะ article
วิธีเป็นเศรษฐีเงินล้าน article
หลักทรัพย์ที่ควรร้จัก
สปส.ปรับเพิ่มเงินบำนาญชราภาพ article
AIG มาถึงวันนี้ได้อย่างไร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.