ReadyPlanet.com
dot dot
dot
วางแผนการเงิน
dot
bulletทำไมต้องวางแผนการเงิน
dot
วางแผนเกษียณอายุ
dot
bulletวางแผนเกษียณอย่างง่าย
dot
วางแผนภาษีอากร
dot
bulletทำไมต้องวางแผนภาษี
bulletเทคนิควางแผนภาษีส่วนบุคคล
bulletเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
bulletค่าใช้จ่ายของแต่ละอาชีพ
bulletสิทธิหักลดหย่อนภาษี
bulletวิธีคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา
dot
วางแผนการลงทุน
dot
bulletข้อคิดก่อนลงทุน
bulletการจัดพอร์ตลงทุน
dot
วางแผนการประกัน
dot
bulletหลักพื้นฐานการประกันภัย
bulletประกันชีวิตเท่าไรถึงพอ
dot
Newsletter

dot




เงินสิบบาท

         ถ้าเรามีเงินอยู่ 10 บาท  ไปซื้อของ 3 บาท  จะได้รับเงินทอนเท่าไร
         ครูคนหนึ่งตั้งคำถามกับเด็กว่า  “ถ้าเรามีเงินอยู่ 10 บาท นำไปซื้อของ 3 บาท  จะได้รับเงินทอนเท่าไร”  เด็กส่วนใหญ่ตอบว่า “7 บาท”  แต่มีเด็ก 2 คน ที่ตอบไม่เหมือนกับคนอื่น  คนหนึ่งตอบว่า “2 บาทคะ”  อีกคนหนึ่งตอบว่า “ไม่ต้องทอนครับ”
         ครูถามเด็กคนแรกว่า  ทำไมถึงได้เงินทอน 2 บาท  คำตอบที่ได้คือ ในจินตนาการของเขา  เขามีเหรียญห้าบาท 2 เหรียญ  เมื่อซื้อของราคา 3 บาท  เขาก็ให้เหรียญห้าบาทไป 1 เหรียญ  ดังนั้น จึงได้รับเงินทอนมา 2 บาท
         เมื่อถามเด็กคนที่สองว่า  ทำไม ไม่ได้รับเงินทอนกลับมา  เด็กคนนี้ไปคิดว่าเขามีเหรียญหนึ่งบาท ทั้งหมด 10 เหรียญ  เมื่อซื้อของราคา 3 บาท  เขาก็ส่งเหรียญหนึ่งบาทให้แม่ค้าไป 3 เหรียญ  แม่ค้าจึงไม่ต้องทอนเงินให้เขา
         โชคดีที่เป็นการถาม-ตอบในห้องเรียน  ลองนึกดูสิครับว่า  ถ้าโจทย์นี้  เป็นข้อสอบที่มีคำตอบเป็น ก-ข-ค-ง  เด็ก 2 คนนี้ คงไม่ได้คะแนนจากคำตอบที่ผิดเพี้ยนไปจากคนส่วนใหญ่
         การสร้างโจทย์ที่ “เสมือนจริง”  ในจินตนาการของครู  อาจถูกจำกัดเพียงแค่ “ตัวเลข”  แต่สำหรับเด็ก  จินตนาการของพวกเขาไร้กรอบ  เงิน 10 บาท จึงสามารถเปลี่ยนเป็นเหรียญสิบบาท  เหรียญห้าบาท หรือ เหรียญหนึ่งบาท
         เมืองไทยมีเหรียญสองบาท  เราจึงอาจได้คำตอบเพิ่มอีก 1 ตำตอบ คือได้เงินทอน 1 บาท
         โลกในห้องเรียนกับโลกของความเป็นจริงนั้นแตกต่างกัน  โลกในห้องเรียน ทุกคำถามส่วนใหญ่มีเพียง 1 คำตอบ  แต่โลกของความเป็นจริง  ทุกคำถามอาจมีคำตอบที่ถูกต้องได้เกิน 1 คำตอบ
         อย่ารีบตัดสินความผิดถูกของคนๆนั้น  เพียงแค่คำตอบของเรา
         อย่าหยุดความคิดสร้างสรรของคนๆนั้น  ด้วยกรอบความคิดของเรา

         ดูเผินๆ  เรื่องข้างต้นอาจจะไม่เกี่ยวกับการวางแผนการเงินสักเท่าไร  แต่หากคิดให้ลึกซึ้ง  จะพบว่า  ในโลกของความเป็นจริง  ช่องทางในการทำมาหากิน  วิธีการเก็บออม หรือทางเลือกในการลงทุนมีหลากหลายมากมาย  ขึ้นกับโอกาส  สิ่งแวดล้อม ความชำนาญหรือความเหมาะสมของแต่ละบุคคล  แต่หลักการพื้นฐานในการวางแผนยังคงเดิม  ไม่เปลี่ยนแปลง
         เฉกเช่นเดียวกับตัวอย่างข้างต้น  เรามีเงิน 10 บาท ซื้อของไปเพียง 3 บาท  ย่อมมีเงินเหลือ 7 บาท  แต่วิธีการจ่ายเงิน  หรือวิธีการทอนเงินนั้น  อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน  แต่ละสิ่งแวดล้อม
         ที่ปรึกษาการเงินที่ดีจึงควรชี้แนะเพียงหลักการกว้างๆ  เพื่อให้ลูกค้านำไปปฏิบัติ  เช่น การวางแผนให้เป็นรูปธรรม  การกำหนดกรอบของเวลา  หรือการกระจายความเสี่ยง  การตัดสินใจแทนลูกค้าทั้งหมดโดยไม่ใส่ใจในข้อจำกัดของลูกค้า  อาจนำความเสียหายมาให้โดยคาดไม่ถึง

         อย่ารีบตัดสินความผิดถูกของคนๆนั้น  เพียงแค่คำตอบของเรา
         อย่าหยุดความคิดสร้างสรรของคนๆนั้น  ด้วยกรอบความคิดของเรา

หมายเหตุ  ขอขอบคุณผู้เขียนนิรนาม  ที่สามารถใช้ตัวอย่างเรื่องง่ายๆ  แต่ให้ข้อคิดอย่างลึกซึ้ง  ขอบคุณจริงๆ

 




บทความน่าสน

Domain names for sale article
ขุมทรัพย์ในกรมธรรม์
ทองคำ ฤาจะหมดมนต์ขลัง
Dollar Carry Trade แผลงฤทธิ์
กรมธรรม์บำนาญ เรื่องใกล้ตัวที่คุณควรรู้ article
ฝรั่งทิ้งหุ้นกว่า 5 หมื่นล้าน ทำไมหุ้นไทยถึงไม่ลง(มาก) article
ทำไม ทองยังคงทำสถิติราคาสูงสุดใหม่ article
ทำไม หุ้นจึงพุ่ง สวนทางม็อบ article
เฟดขึ้นดอกเบี้ย มั่นใจพ้นจุดต่ำสุด article
5 ศตวรรษของฟองสบู่โลก
บริจาคอย่างไร หักภาษีได้ 2 เท่า
ทำไม ราคาทองคำจึงพุ่งไม่หยุด
MACD สาเหตุที่แท้จริงในตลาดหุ้น
เงินรองรัง เท่าไรถึงพอ
นักลงทุนทิ้งเงินดอลลาร์ มุ่งลงทุนสินทรัพย์อื่น
เงินที่หล่นหาย
สมาคมตัวแทนเตรียมจัดงานสัมมนาระดับโลก
5 คำแนะนำในการซื้อบ้านที่ถูกยึด
พันธบัตร 10 ปีของสหรัฐ พุ่งแตะ 3.71%
วิกฤตการเงินระลอกสอง article
AIG ถึงคราวต้องล้ม ?
ช่วยด้วย ฉันซื้อประกันไว้กับ AIG
ช่วยใช้เงินหน่อย
เตือนรัฐรับวิกฤติผู้สูงอายุ
ข่าวดีและข่าวร้ายจากเฟด
CDS ดินระเบิดวิกฤติปี 2008 article
สัญญาเพิ่มเติมในประกันชีวิต หักภาษีไม่ได้แล้ว
จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าฟองสบู่อเมริกาแตก
มาวางแผนเกษียณอายุกันเถอะ article
วิธีเป็นเศรษฐีเงินล้าน article
หลักทรัพย์ที่ควรร้จัก
สปส.ปรับเพิ่มเงินบำนาญชราภาพ article
AIG มาถึงวันนี้ได้อย่างไร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.