ReadyPlanet.com
dot dot
dot
วางแผนการเงิน
dot
bulletทำไมต้องวางแผนการเงิน
dot
วางแผนเกษียณอายุ
dot
bulletวางแผนเกษียณอย่างง่าย
dot
วางแผนภาษีอากร
dot
bulletทำไมต้องวางแผนภาษี
bulletเทคนิควางแผนภาษีส่วนบุคคล
bulletเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
bulletค่าใช้จ่ายของแต่ละอาชีพ
bulletสิทธิหักลดหย่อนภาษี
bulletวิธีคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา
dot
วางแผนการลงทุน
dot
bulletข้อคิดก่อนลงทุน
bulletการจัดพอร์ตลงทุน
dot
วางแผนการประกัน
dot
bulletหลักพื้นฐานการประกันภัย
bulletประกันชีวิตเท่าไรถึงพอ
dot
Newsletter

dot




สัญญาเพิ่มเติมในประกันชีวิต หักภาษีไม่ได้แล้ว

        หลังจากอึมครึมกันมาพักใหญ่  สำหรับคำสั่งของกรมสรรพากรที่ให้ประชาชนแยกเบี้ยประกันของสัญญาเพิ่มเติมออกจากเบี้ยประกันชีวิต  ในที่สุด  ความชัดเจนเรื่องนี้ก็ได้ประกาศออกมาแล้ว  โดยมีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร  ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2551   กำหนดแนวปฎิบัติเรื่องนี้โดยละเอียด  ดังนี้

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172)

         เรื่อง  กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

         อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้

        ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 112) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2545

        ข้อ 2 การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ เฉพาะกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป และเป็นการประกันชีวิตที่ได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
        (1) กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติม ค่าเบี้ยประกันภัยที่จ่ายสำหรับความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมดังกล่าว ไม่สามารถยกเว้นภาษีสำหรับเบี้ยประกันภัยดังกล่าวได้
        (2) กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีการรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนในระหว่างอายุกรมธรรม์ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
            (ก) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนทุกปี จะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี หรือ
            (ข) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนตามช่วงระยะเวลาที่ผู้รับประกันภัยกำหนดนอกจาก (ก) เช่น ราย 2 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี เป็นต้น จะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมของแต่ละช่วงระยะเวลาที่ผู้รับประกันภัยกำหนดให้มีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน หรือ
            (ค) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนที่ไม่เป็นไปตาม (ก) หรือ (ข) ผลรวมของเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนสะสมตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่มีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน ต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมทั้งหมดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว

         ทั้งนี้ เงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนตาม (ก) และหรือ (ข) และหรือ (ค) ไม่รวมเงินปันผลตามกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ได้รับตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันชีวิต หรือเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแล้ว แต่ผู้เอาประกันภัยยังคงได้รับความคุ้มครองตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาประกันชีวิต หรือเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดอายุกรมธรรม์
         ความใน (1) และ (2) ให้ใช้บังคับสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ได้เริ่มทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป

        ข้อ 3 การได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
         (1) ให้ได้รับยกเว้นภาษีตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะได้รับยกเว้นภาษีนั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่
         (2) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท
         ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้มีการประกันชีวิตและความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหรือภริยาซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อน สำหรับเบี้ยประกันชีวิตของสามีหรือภริยาฝ่ายที่ไม่มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 47(1)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร
          (3) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้                                              
          (ก) ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
          (ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีและภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
          (ค) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีและภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามี ตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

         ข้อ 4 การได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากผู้รับประกันภัยที่พิสูจน์ได้ว่า มีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต
         กรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมหลักฐานตามวรรคหนึ่งต้องระบุจำนวนเบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันภัยที่จ่ายสำหรับความคุ้มครอง อื่นเพิ่มเติมแยกออกจากกัน
         กรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีการรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนในระหว่างอายุกรมธรรม์ หลักฐานตามวรรคหนึ่งต้องระบุเงื่อนไขตามข้อ 2(2) ด้วย
         ความในวรรคสองและวรรคสามให้ใช้บังคับสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ได้เริ่มทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป

        ข้อ 5 กรณีผู้มีเงินได้ ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 3 แล้ว และต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อ 2   ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 3   และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้วนับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของปีภาษีนั้นๆ   จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม  เพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าว  พร้อมเงินเพิ่ม  ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร

         ข้อ 6 การได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้นำเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคำนวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

         ข้อ 7 ในกรณีมีปัญหาในทางปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจวินิจฉัย และคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดตามประกาศนี้ด้วย

        ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 112) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2545 ให้ยังคงใช้บังคับต่อไป เฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีเงินได้ที่ค้างชำระหรือพึงชำระก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551

ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2551
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร

แหล่งข้อมูล  http://www.rd.go.th/publish/39758.0.html

หมายเหตุ  เมื่ออ่านและวิเคราะห์ประกาศฉบับนี้แล้ว  ใคร่ขอสรุปเนื้อหาประกาศฉบับนี้ดังนี้
       1. กรมธรรม์ที่ซื้อใหม่  ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2552 จะไม่สามารถนำเบี้ยในส่วนสัญญาเพิ่มเติม  เช่น เบี้ยประกันอุบัติเหตุ เบี้ยรักษาพยาบาล หรือเบี้ยประกันมะเร็งมารวมหักลดหย่อนภาษีได้  จะใช้ได้เฉพาะเบี้ยประกันชีวิตเท่านั้น  โดยสามารถดูยอดเบี้ยประกันชีวิตได้จากหน้าแรกของกรมธรรม์  จะมีการแยกแยะรายการต่างๆออกมาไว้อย่างชัดเจน 

       2. กรมธรรม์ที่มีเงินคืนระหว่างสัญญาเกินกว่า 20% ของเบี้ยสะสมตั้งแต่ปีแรกของกรมธรรม์  หากเป็นการซื้อประกันชีวิตหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2552   จะไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้  ( ทั้งนี้ ไม่นับรวมเงินปันผลและเงินคืนงวดสุดท้ายของกรมธรรม์ )

       3. กรมธรรม์ที่มีเงื่อนไขตามข้อ 1 และ 2 หากซื้อก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2552 ยังคงใช้สิทธิได้ดังเดิมจนกว่ากรมธรรม์จะครบสัญญา  ( ลดหย่อนได้ทั้งเบี้ยประกันชีวิตและสัญญาเพิ่มเติม )

       4. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2551   ผู้มีเงินได้มีสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้จากเบี้ยประกันชีวิตได้สูงสุดถึง 100,000 บาท  แต่ต้องไม่เกินเงินได้ของแต่ละบุคคลหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว  ส่วนคู่สมรสที่ไม่มีรายได้  หักค่าลดหย่อนได้สูงสุดเพียง 10,000 บาท และต้องมีสถานะสมรส  ตลอดปีภาษีเท่านั้น

       5. บริษัทประกันชีวิตมีหน้าที่ต้องแยกเบี้ยสัญญาเพิ่มเติมออกจากเบี้ยประกันชีวิตของกรมธรรม์ที่สมัครหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2552  และต้องระบุในใบรับรองการชำระเบี้ยว่า  กรมธรรม์ฉบับนั้นๆไม่มีเงินคืนระหว่างสัญญาเกินกว่า 20%ของเบี้ยสะสม

       6. หากมีการปฏิบัติผิดไปจากหลักเกณฑ์ข้างต้น  ต้องคืนภาษีที่ได้ลดหย่อนไปแล้ว  พร้อมเบี้ยปรับตามกฎหมาย

       หวังว่าพวกเราจะได้ศึกษาประกาศฉบับนี้ให้เข้าใจ  เพื่อนำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง  หาไม่แล้ว  แทนที่จะได้รับเงินคืนมา  อาจจะต้องคืนเงินไป  พร้อมกับถูกเรียกให้ไปเสียค่าปรับอีกด้วย   

       เสียเงินไม่ว่า  แต่เสียหน้านี่สิ  น่าเจ็บใจ

 




บทความน่าสน

Domain names for sale article
ขุมทรัพย์ในกรมธรรม์
ทองคำ ฤาจะหมดมนต์ขลัง
Dollar Carry Trade แผลงฤทธิ์
กรมธรรม์บำนาญ เรื่องใกล้ตัวที่คุณควรรู้ article
ฝรั่งทิ้งหุ้นกว่า 5 หมื่นล้าน ทำไมหุ้นไทยถึงไม่ลง(มาก) article
ทำไม ทองยังคงทำสถิติราคาสูงสุดใหม่ article
ทำไม หุ้นจึงพุ่ง สวนทางม็อบ article
เฟดขึ้นดอกเบี้ย มั่นใจพ้นจุดต่ำสุด article
5 ศตวรรษของฟองสบู่โลก
บริจาคอย่างไร หักภาษีได้ 2 เท่า
ทำไม ราคาทองคำจึงพุ่งไม่หยุด
MACD สาเหตุที่แท้จริงในตลาดหุ้น
เงินรองรัง เท่าไรถึงพอ
นักลงทุนทิ้งเงินดอลลาร์ มุ่งลงทุนสินทรัพย์อื่น
เงินที่หล่นหาย
สมาคมตัวแทนเตรียมจัดงานสัมมนาระดับโลก
5 คำแนะนำในการซื้อบ้านที่ถูกยึด
พันธบัตร 10 ปีของสหรัฐ พุ่งแตะ 3.71%
วิกฤตการเงินระลอกสอง article
AIG ถึงคราวต้องล้ม ?
เงินสิบบาท
ช่วยด้วย ฉันซื้อประกันไว้กับ AIG
ช่วยใช้เงินหน่อย
เตือนรัฐรับวิกฤติผู้สูงอายุ
ข่าวดีและข่าวร้ายจากเฟด
CDS ดินระเบิดวิกฤติปี 2008 article
จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าฟองสบู่อเมริกาแตก
มาวางแผนเกษียณอายุกันเถอะ article
วิธีเป็นเศรษฐีเงินล้าน article
หลักทรัพย์ที่ควรร้จัก
สปส.ปรับเพิ่มเงินบำนาญชราภาพ article
AIG มาถึงวันนี้ได้อย่างไร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.