ReadyPlanet.com
dot dot
dot
วางแผนการเงิน
dot
bulletทำไมต้องวางแผนการเงิน
dot
วางแผนเกษียณอายุ
dot
bulletวางแผนเกษียณอย่างง่าย
dot
วางแผนภาษีอากร
dot
bulletทำไมต้องวางแผนภาษี
bulletเทคนิควางแผนภาษีส่วนบุคคล
bulletเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
bulletค่าใช้จ่ายของแต่ละอาชีพ
bulletสิทธิหักลดหย่อนภาษี
bulletวิธีคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา
dot
วางแผนการลงทุน
dot
bulletข้อคิดก่อนลงทุน
bulletการจัดพอร์ตลงทุน
dot
วางแผนการประกัน
dot
bulletหลักพื้นฐานการประกันภัย
bulletประกันชีวิตเท่าไรถึงพอ
dot
Newsletter

dot




การจัดพอร์ตลงทุน


     แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง  และการที่ประเทศไทยได้เข้าสู่กระแสโลกาภิวัตน์  ทำให้กลไกของระบบการเงินเปลี่ยนไป   รูปแบบการออมเก่าๆเริ่มไม่เหมาะสม  ขณะที่รูปแบบการลงทุนใหม่ๆมีให้เลือกมากยิ่งขึ้น
     ในเวบไซต์นี้จึงขอเสนอรูปแบบการลงทุนให้เลือก  3  แบบ  ตามวัยและความชอบเสี่ยงของแต่ละคน  ( ซึ่งควรจะมีการปรับพอร์ตการลงทุนเป็นระยะๆ )


 
แนวทางการจัดสัดส่วนพอร์ตลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ 

ประเภทการลงทุน

ผลตอบแทนที่คาด

แบบอนุรักษ์นิยม

แบบสายกลาง

แบบชอบเสี่ยง

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ประกันชีวิต/กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

5%

40%

30%

30%

เงินสด/เงินฝาก/ตั๋วแลกเงิน/บัตรเงินฝาก

3-4%

30%

20%

10%

พันธบัตร/หุ้นกู้/กองทุนตราสารหนี้

5%

30%

20%

10%

หุ้น/กองทุนรวมหุ้น/กองทุนETF

+/-20%

-

15%

30%

บ้านเช่า/หอพัก/อาคารพาณิชย์ให้เช่า

5-15%

-

15%

20%

รวม

5%

100%

100%

100%


        และเพื่อให้เราได้เข้าใจรูปแบบและข้อดีข้อเสียในการลงทุนแต่ละประเภท         ผู้เขียนจึงใคร่แจกแจงรายละเอียดให้ผู้อ่านได้เลือกลงทุนตามความชอบ  ความเหมาะสมของแต่ละคน

       1) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ( รวมถึงกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ )

        ข้อดี

- เก็บออมอย่างเป็นระบบ
- ได้รับเงินสมทบจากบริษัทอีกหนึ่งเท่าตัวทุกเดือน
- ผลตอบแทนจากการลงทุนได้รับการยกเว้นภาษี  หากสมาชิกทำงานจนเกษียณอายุ , พิการหรือ เสียชีวิต
- เงินสะสมของพนักงานได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี  และ  ยกเว้นภาษีสูงถึงปีละ 300,000 บาท
- เงินกองทุนแยกจากเงินทุนของบริษัทนายจ้าง  จึงไม่สูญหายแม้บริษัทล้มละลายไป
- เป็นเงินก้อนใหญ่  จึงลงทุนได้หลากหลาย
- มีกฎหมายให้ความคุ้มครอง  มีข้อกำหนดการลงทุนที่เข้มงวด  และต้องมีบริษัทผู้เชี่ยวชาญการลงทุนเป็นผู้บริหารกองทุน

           ข้อเสีย

- ไม่มีสภาพคล่อง  หากมีความจำเป็นใช้เงิน   ต้องกู้เงิน   โดยใช้เงินสะสมเป็นตัวอ้างอิง  ซึ่งขึ้นกับนโยบายของแต่ละกองทุน  หรือ  ต้องลาออกจากกองทุน  ซึ่งต้องรับภาระภาษีของเงินทั้งจำนวน
- หากมีการย้ายงาน  หรือออกจากงาน  ต้องออกจากกองทุนเดิม  ทำให้การเก็บเงินขาดตอน  เว้นแต่จะได้งานใหม่ทันที  และมีการทำเรื่องโอนย้ายเ
งินเดิมเข้าไปในกองทุนของบริษัทใหม่ในทันที
- เงินส่วนใหญ่ลงทุนในพันธบัตร  และหุ้นกู้  ดังนั้นผลตอบแทนการลงทุนอาจผันผวนตามภาวะดอกเบี้ยที่ขึ้นลงได้

        2 ) ประกันชีวิต

        ข้อดี

- เก็บออมอย่างเป็นระบบ
- ได้รับผลตอบแทนที่ค่อนข้างแน่นอน  ตลอดสัญญา
- ได้รับการคุ้มครอง  เต็มวงเงินทันทีที่เก็บออม
- มีสวัสดิการต่างๆให้  เช่น  การรักษาพยาบาล  เงินชดเชยชนิดต่างๆ
- ไม่เสียภาษีทั้งเงินปันผล  และ  เงินสินไหม
- ได้สิทธิลดหย่อนภาษีปีละ  50,000  บาท
- กฎหมายให้ความคุ้มครองสูง  มีข้อกำหนดการลงทุนที่เข้มงวด     หรือสิทธิในกรณีที่เสียชีวิต       เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์ยึดเงินสินไหมเกินกว่าเบี้ยประกัน  ที่ได้จ่ายไป

        ข้อเสีย

- สภาพคล่องต่ำ  หากมีความจำเป็นใช้เงิน  ต้องกู้เงินจากกรมธรรม์  หรือ  เวนคืนกรมธรรม์  ซึ่งมักจะขาดทุน (ถ้ายังไม่ถึงจุดคุ้มทุน   ดูได้จากมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์ )
- ผู้ลงทุนต้องมีอายุและสุขภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- มีภาระฝากเบี้ยประกันทุกปี  ตามสัญญา
- การเบิกสวัสดิการต่างๆ  มีเงื่อนไขและข้อกำหนดเฉพาะ  ผู้ลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจให้ดีเสี
ยก่อน

        3 ) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

        ข้อดี

- คนทุกสาขาอาชีพมีสิทธิ์เข้าร่วมกองทุนได้
- สามารถลงทุนได้ไม่จำกัดหน่วยลงทุน
- สามารถโอนย้ายการลงทุนจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหนึ่งไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นได้
- เงินลงทุนจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้  สูงถึง  500,000  บาทต่อปี
- ผลตอบแทนจากการลงทุนได้รับการยกเว้นภาษีหากมีการลงทุนตั้งแต่  5  ปีขึ้นไป  และผู้ลงทุนมีอายุถึง  55 
 ปี

        ข้อเสีย

 - ต้องเพิ่มเงินลงทุนสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้งไม่ต่ำกว่า  5,000  บาทต่อปี
- การลงทุนจะเป็นระยะยาวต่อเนื่อง  ไม่มีการจ่ายเงินปันผล  หรือ  ผลประโยชน์ใดๆระหว่างลงทุนจะจ่ายคืนแก่ผู้ลงทุนครั้งเดียว  เมื่อมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุน
- หากไถ่ถอนก่อนผู้ลงทุนมีอายุ  55 ปี  จะต้องคืนภาษีที่ได้รับการลดหย่อนใน  5  ปีสุดท้ายและผลตอบแทนจากการลงทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะต้องนำ มาคำนวณภาษีเงินได้  ณ  ปีที่ไถ่ถอน
- การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง  ขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นๆว่า  ลงทุนหลักทรัพย์ประเภทใด

        4 ) เงินสด

        ข้อดี

- หยิบใช้ได้ตลอดเวลา
- ไม่กังวลเรื่องสถาบันการเงินล้ม
- ไม่มีข้อกำหนดตายตัวในการเก็บเงิน  จะเก็บเท่าไร  เมื่อไรก็ได้

        ข้อเสีย

- ยุ่งยากในการจัดเก็บ  เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม
- เงินไม่งอกเงย
- หากมีมากๆ ( มากกว่า  5  ล้านบาท )เสี่ยงต่อการถูกเพ็งเล็งว่าฟอกเงิน

        5 ) เงินฝาก ( ออมทรัพย์  /  ประจำ )

        ข้อดี

- เบิกถอนสะดวก
- มั่นคง 
- ได้รับผลตอบแทนแน่นอน
- ใช้เป็นหลักทรัพย์  ค้ำประกันได้
- มีจำนวนเงินน้อยก็ฝากได้

        ข้อเสีย

- มีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง   เมื่อครบรอบการฝากเงิน  (ROLLOVER RISK)
- ในอนาคต  รัฐมีแนวโน้มจะยกเลิกการค้ำประกันเงินฝาก
- ผลตอบแทนต่ำ
- เสียภาษีดอกเบี้ย  15%(ฝากประจำ)

        6 ) ตั๋วแลกเงิน , บัตรเงินฝาก  ( B/E , NCD )

       ข้อดี

- เสียภาษีดอกเบี้ย  15%   

- ดอกเบี้ยสูง
- มั่นคงเนื่องจากธนาคารเป็นผู้ออกหรือค้ำประกัน

        ข้อเสีย

- สภาพคล่องต่ำ  ต้องฝาก  1 ปีขึ้นไป
- หากต้องการใช้เงินก่อนต้องขายลดราคา

        7 ) พันธบัตร

        ข้อดี

- มั่นคง  เนื่องจากรัฐเป็นผู้ออก
- โดยทั่วไปดอกเบี้ยจะสูงกว่าธนาคาร  และรับรองดอกเบี้ยในระยะเวลาที่ยาวกว่า
- ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้

        ข้อเสีย

- สภาพคล่องต่ำ 
- ถ้าต้องการขายก่อนครบกำหนดสัญญา  จะมีความเสี่ยงในเรื่องความผันผวนของราคาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย  เพราะถ้าหากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเพิ่มขึ้น  พันธบัตรที่ออกในช่วงก่อนหน้าราคาจะลดลง
- ตลาดพันธบัตรไม่ได้เป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพ  ถ้าต้องการใช้เงินเร็วๆ  ก่อนครบกำหนด  จะขายไม่ได้ราคา
- ใช้เงินลงทุนมาก
- เสียภาษีดอกเบี้ย  15%

        8 ) หุ้นกู้

        ข้อดี

- ดอกเบี้ยสูง
- รับรองอัตราดอกเบี้ยที่สูง  หากเป็นหุ้นกู้แบบกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่

        ข้อเสีย

- สภาพคล่องต่ำ
- เป็นการกู้ยืมที่ไม่มีหลักประกัน   จึงมีความเสี่ยงในเรื่องการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย
- มีความผันผวนของราคา  หากต้องการขายออกก่อนครบกำหนด
- ตลาดหุ้นกู้  ยิ่งไร้ประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะของบริษัทที่มีพื้นฐานอ่อน  จะไม่ค่อยมีการซื้อขายทำให้ขายไม่ได้ราคา  หรือ  ไม่มีผู้รับซื้อ
- เสียภาษีดอกเบี้ย 15 %
- ใช้เงินลงทุนมาก

        9) กองทุนตราสารหนี้

         ข้อดี

- บริหารผ่านมืออาชีพ
- มีเงินน้อยก็สามารถลงทุนได้
- ไม่เสียภาษีหากขายหน่วยลงทุนแล้วได้กำไร( CAPITAL  GAIN )
- ซื้อขายหน่วยลงทุนได้ตลอดเวลา  ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร  หรือ  ตู้ ATM   

         ข้อเสีย

- มีความเสี่ยงในเรื่องของราคาที่ผันผวนจากการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ย
- ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบริหาร  ค่าโฆษณาแต่มักต่ำกว่าการเสียภาษี  ถ้าลงทุนด้วยตัวเอง
- เงินปันผลต้องจ่ายภาษี  10%

        10 ) หุ้นสามัญ

        ข้อดี

- ผลตอบแทนสูงมาก  หากลงทุนได้ถูกจังหวะ  ทั้งในส่วนของกำไรจากราคาที่เพิ่มขึ้น  และเงินปันผล
- กำไรจากราคาซื้อขายหุ้นไม่ต้องเสียภาษี
- มีสินค้าให้เลือกลงทุนมากมาย  ทั้งประเภทธุรกิจ,ขนาดราคาหุ้น  หรือ   ลักษณะการเหวี่ยงตัวของราคาหุ้น
- มีสภาพคล่อง  ซื้อขายได้ทุกวันทำการ

        ข้อเสีย

- เสี่ยงสูง  อาจไม่ได้รับเงินต้นคืน  หรือ  ขาดทุนจำนวนมาก
- จะได้รับเงินปันผล  ก็ต่อเมื่อบริษัทมีผลกำไร
- ต้องติดตามข่าวสารตลอดเวลา
- ราคาหุ้นไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยพื้นฐานอย่างเดียวแต่ขึ้นกับภาวะตลาดรวม  และ  จิตวิทยาฝูงชนด้วย
- เงินปันผลต้องเสียภาษี  10%  หัก  ณ  ที่จ่าย  แต่สามารถนำมาเครดิตภาษีคืนได้บางส่วน  เวลาเสียภาษีบุคคลธรรมดา

        11 )  กองทุนรวมตราสารทุน  (หุ้น  , วอร์แรนท์)

        ข้อดี

- ใช้เงินจำนวนน้อย  ก็ลงทุนได้
- ได้ผลตอบแทนสูง  หากภาวะตลาดหุ้นดี
- บริหารโดยมืออาชีพ  มีการกระจายลงทุนในหุ้นพื้นฐาน
- ไม่เสียภาษี  จากกำไรของราคาหน่วยลงทุน
- ซื้อขายหน่วยลงทุนได้ตลอดเวลา

        ข้อเสีย

- มีความเสี่ยง  เนื่องจากลงทุนในหุ้นสามัญเป็นหลัก
- เงินปันผลที่ได้รับต้องถูกหักภาษี  ณ  ที่จ่าย  10%
- ผลตอบแทนจากการลงทุนต้องหักค่าใช้จ่าย  ในการบริหารก่อน
- เนื่องจากเน้นลงทุนในหุ้นพื้นฐาน  ดังนั้นผลตอบแทนจึงขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลัก

        12 )  บ้านเช่า / หอพัก / แฟลต / อาคารพาณิชย์ให้เช่า /อพาร์ตเมนท์

        ข้อดี

- มีรายได้เข้ามาทุกเดือน  และราคาปรับขึ้นได้ในอนาคต
- ราคาอสังหาริมทรัพย์มีโอกาสสูงขึ้นได้ในอนาคตโดยเฉพาะการซื้อในช่วงนี้ที่ยังมีราคาต่ำ
- เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้

        ข้อเสีย

- ลงทุนสูง  หรือ  มีภาระผ่อนนาน
- สภาพคล่องต่ำ  ต้องรอจังหวะขาย  หากต้องการเงินต้นคืน
- มีความเสี่ยง  เรื่องหาคนมาเช่า
- มีภาระในการบริหาร  ตามเก็บค่าเช่า  หรือ  ซ่อมแซม  บำรุงรักษา

        หมายเหตุ  -   อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อ  ต้องมั่นใจว่าอัตราการเข้าพักหรือเช่าต้อง  80%  ขึ้นไป
                        -    การลงทุนต้องซื้อด้วยเงินสด  หากใช้เงินดาวน์    ค่าเช่าที่ได้รับต้องใกล้เคียงกับเงินผ่อนในแต่ละเดือน  หรือมากกว่า

        13 ) ทองคำ

        ข้อดี

- ซื้อขายง่าย
- เป็นหลักทรัพย์ที่ยอมรับกันทั่วโลก  ดังนั้นในกรณีที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก  ทองคำจะเป็นแหล่งพักเงิน  ทำราคาขยับสูงขึ้นได้
- ในช่วงอัตราเงินเฟ้อสูง  เช่น ภาวะสงคราม  จะมีราคาสูง

        ข้อเสีย

- มีแนวโน้มด้อยค่าลงเรื่อยๆ  เนื่องจาก  ประเทศต่างๆทั่วโลก      ลดความนิยมในการใช้ทองคำ  เป็นทุนสำรองของประเทศ
- เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม

        เมื่อท่านได้ลงมือหว่านไถแล้ว  จากนั้นต้องคอยติดตามดูแลเป็นระยะๆ   รอดอกผลให้งอกเงย  จนเมื่อมันเป็นไม้ผลยืนต้นใหญ่แล้ว  ท่านก็สามารถเก็บเกี่ยวผลไปได้ตลอดชีวิต


 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.