ReadyPlanet.com
dot dot
dot
วางแผนการเงิน
dot
bulletทำไมต้องวางแผนการเงิน
dot
วางแผนเกษียณอายุ
dot
bulletวางแผนเกษียณอย่างง่าย
dot
วางแผนภาษีอากร
dot
bulletทำไมต้องวางแผนภาษี
bulletเทคนิควางแผนภาษีส่วนบุคคล
bulletเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
bulletค่าใช้จ่ายของแต่ละอาชีพ
bulletสิทธิหักลดหย่อนภาษี
bulletวิธีคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา
dot
วางแผนการลงทุน
dot
bulletข้อคิดก่อนลงทุน
bulletการจัดพอร์ตลงทุน
dot
วางแผนการประกัน
dot
bulletหลักพื้นฐานการประกันภัย
bulletประกันชีวิตเท่าไรถึงพอ
dot
Newsletter

dot




เทคนิควางแผนภาษีส่วนบุคคล

          การวางแผนภาษีส่วนบุคคล  เป็นการวางแผนภาษีของบุคคลธรรมดา  ไม่ว่าจะมีอาชีพกินเงินเดือน  เจ้าของกิจการหรือมีอาชีพอิสระ  โดยบุคคลที่มีรายได้  มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด  ดังนั้นการรู้จักวางแผนที่เหมาะสมจะช่วยแบ่งเบาภาระให้กับเราได้

          รายได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี
          รายได้ที่ต้องเสียภาษีของบุคคลธรรมดา ตามกฎหมายเรียกว่า "เงินได้พึงประเมิน" หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ ซึ่งได้แก่
          1. เงิน
          2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริง
          3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน
          4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
          5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

         กลยุทธในการวางแผนภาษีบุคคลธรรมดา
           โครงสร้างของการคิดภาษีบุคคลธรรมดา  คือ
          
ภาษีที่ต้องชำระ  =  เงินได้สุทธิ  X  อัตราภาษี

           ขณะที่เงินได้สุทธิคิดมาจาก
เงินได้สุทธิ  =  เงินได้พึงประเมิน  -  ค่าใช้จ่าย  -  ค่าลดหย่อน  -  เงินบริจาค

          ดังนั้นกลยุทธ์ในการวางแผนภาษีส่วนบุคคลคือ
         1. ลด   ยอดเงินได้ให้ต่ำลง
         2. เพิ่ม   ค่าใช้จ่ายให้สูงขึ้น
         3. เพิ่ม   ค่าลดหย่อนให้สูงขึ้น
         4. เพิ่ม   ยอดเงินบริจาคให้สูงขึ้น
 
          รายละเอียดของแต่ละขั้นตอนมีดังนี้
     

        1.  การลดยอดเงินได้ให้ต่ำลง  ทำได้โดย
                1.1  แยกรายได้ที่ได้สิทธิยกเว้นภาษีออกไป
                มีรายได้บางอย่างที่กม.ยกเว้นภาษีให้  เช่น  ค่าเบี้ยเลี้ยง  ค่าพาหนะ  บำนาญตกทอด  หรือ  เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญ  หรือคณะบุคคล  การแยกรายได้ส่วนนี้ออก  ช่วยให้ประหยัดภาษีได้มาก ( ดูรายละเอียดเพิ่มเติม )
               1.2 แยกรายได้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายและเป็นประเภทภาษีสุดท้าย ( final tax ) ออก
                เพราะผู้มีเงินได้สามารถเลือกได้ว่า  จะนำไปรวมคำนวนภาษีหรือไม่ก็ได้  ดังนั้นควรพิจารณาก่อนว่ามันจะคุ้มค่าหรือไม่  ที่จะนำรายได้ดังกล่าวเข้าไปรวมคำนวณ  เช่นดอกเบี้ย  เงินปันผล หรือเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งทางการค้าหรือหากำไร
               1.3 แยกรายได้จากต่างประเทศออก
                กรณีมีเงินได้จากต่างประเทศ  พิจารณาดูว่าสามารถวางแผนเพื่อลดหย่อนภาษี  หรือขอยกเว้นภาษีทั้งจำนวนได้หรือไม่  โดยดูว่าประเทศต้นทางที่เป็นแหล่งเงินได้  มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทยหรือไม่  ถ้ามีก็ไม่ต้องเสียให้ซ้ำซ้อน  ถ้าไม่มีก็ให้ใช้วิธีพักเงินรายได้ไว้ในต่างประเทศ  รอให้ข้ามปีภาษีก่อน (รอให้เลยวันที่ 31 ธันวาคม )  แล้วจึงนำเงินได้จำนวนนี้กลับเข้ามา  ก็จะทำให้ได้สิทธิยกเว้นภาษีทั้งจำนวน
               1.4 เพิ่มหน่วยภาษีออกไป
                
เนื่องจากอัตราภาษีบุคคลธรรมดาเป็นอัตราก้าวหน้า  ดังนั้นถ้าเราสามารถแตกฐานภาษีออกไปมากเท่าไร  ฐานภาษีของแต่ละคนก็ยิ่งต่ำลงเท่านั้น  วิธีที่นิยมคือ  การจัดตั้งคณะบุคคลขึ้นเป็นหน่วยภาษีใหม่  เพื่อกระจายรายได้ออกไป  และยังสามารถหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนได้เหมือนคนธรรมดาอีกด้วย

                1.5 การเลื่อนระยะเวลารับรู้รายได้ออกไป
                ถ้าหากปีนี้  ฐานรายได้ของเราค่อนข้างสูง  และเราสามารถต่อรองให้คู่ค้าของเรา  หรือนายจ้างผู้จ่ายเงิน  เลื่อนการจ่ายเงินออกไปเป็นต้นปีหน้า  เพื่อให้รายได้ใหม่ไปตกปีหน้าซึ่งเราคาดการณ์ว่า  ฐานรายได้จะต่ำกว่า  เป็นการเกลี่ยรายได้ออกไป  ทำให้ไม่ต้องแบกรับฐานภาษีที่สูงเกินไปในปีใดปีหนึ่ง         

                1.6 การเปลี่ยนเงินได้เป็นสวัสดิการ  ( fringe  benefits )
                 หากเรารับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนทั้งหมด  เราก็ต้องเสียภาษีแบบเต็มที่  แต่ถ้าเราเปลี่ยนรายได้บางส่วนเป็นสวัสดิการ เช่น  รถประจำตำแหน่ง  ค่าน้ำมันรถ  เบี้ยเลี้ยง  ซึ่งรายการเหล่านี้ได้สิทธิยกเว้นภาษี  เพราะถือเป็นสวัสดิการ  หรือถือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัทได้ 

                 1.7  เลือกลงทุนในหลักทรัพย์  หรือออมเงินประเภทที่ได้รับการยกเว้นภาษีจากรัฐบาล  ผลตอบแทนที่ได้จะได้ไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษี
     

           2.  เพิ่มค่าใช้จ่าย  ทำได้โดย
                 2.1  เลือกอาชีพที่หักค่าใช้จ่ายได้สูงสุด
                 เนื่องจาก  กรมสรรพากรแบ่งรายได้ของบุคคลธรรมดาออกเป็น 8 ประเภท  แต่ละประเภทสามารถหักค่าใช้จ่ายได้แตกต่างกัน  ดังนั้นการรู้จักจัดสรรให้เงินได้ของเราไปอยู่ในกลุ่มอาชีพที่หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า  ย่อมช่วยประหยัดภาษีได้มาก  ( ดูรายละเอียดแต่ละอาชีพ )
                 2.2 แยกรายได้ให้มาจากหลากหลายอาชีพ  เพื่อเพิ่มสิทธิหักค่าใช้จ่าย
                 เนื่องจาก  การเป็นลูกจ้างกินเงินเดือนจะหักค่าใช้จ่ายสูงสุดได้  40% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 
60,000  บาท  แต่ถ้าเราสามารถทำให้รายได้มาจากหลายลักษณะอาชีพ  เช่น  ค่าที่ปรึกษาในฐานะ
ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ  ค่าลิขสิทธิ์  หรือค่ารับเหมา  จะช่วยทำให้หักค่าใช้จ่ายจากแต่ละหมวดได้มากขึ้น

                 2.3 เครดิตภาษีเงินปันผล
                 โดยต้องดูว่า  อัตราภาษีของบริษัทที่จ่ายปันผลให้เรานั้นสูงกว่าหรือต่ำกว่าฐานภาษีของเรา 
เพราะถ้าบริษัทนั้นได้รับสิทธิยกเว้นภาษี  หรือใช้อัตราภาษีที่ต่ำอยู่แล้ว  อาจทำให้เราต้องเสียภาษีเพิ่มได้ถ้านำมารวมคำนวณภาษี
    

          3.  เพิ่มค่าลดหย่อน  ทำได้โดย
                3.1 พยายามใช้สิทธิค่าลดหย่อนตามที่กฎหมายกำหนดให้ได้มากที่สุด
                ไม่ว่าจะเป็นค่าลดหย่อนบุตร  ค่าเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย  การทำประกันชีวิต  หรือการซื้อกองทุนต่างๆที่กม.ให้สิทธิลดหย่อนภาษีได้   ( ดูรายละเอียดเพิ่มเติม )
                3.2 การเครดิตภาษีล่วงหน้า
                สำหรับค่าลดหย่อนต่างๆที่เราจะใช้สิทธิลดหย่อนตามข้อ 3.1 นั้น หากเราไม่ต้องการมาทำเรื่อง
ขอภาษีคืนภายหลัง  ก็ให้ทำเรื่องเครดิตภาษีไว้ล่วงหน้า  โดยวิธีแสดงหลักฐานให้ฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายบัญชีทราบว่า  เราได้มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่กฎหมายอนุญาตให้นำมาลดหย่อนภาษีได้  ฝ่ายบุคคลก็จะนำรายการเหล่านั้นไปรวมคำนวณ  ทำให้ยอดหักภาษี ณ ที่จ่ายลดลง  และแสดงตัวเลขใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้น
    

          4.  เพิ่มยอดเงินบริจาค  ทำได้โดย
                4.1 เงินที่ได้บริจาคให้วัด  โบสถ์  หรือมัสยิด
                สามารถขอใบอนุโมทนาบัตรมาลดหย่อนภาษีได้  นอกจากนี้ยังมีองค์กรการกุศล  ตามที่
กรมสรรพากรประกาศ  หากเราได้เข้าไปช่วยเหลือบริจาคเงิน  ก็สามารถนำใบเสร็จมาลดหย่อนภาษีได้  แต่รวมกันไม่เกิน  10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว
               4.2 เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา
                เงินที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

                หากเราทำได้ครบถ้วนทุกข้อ  เชื่อว่าการวางแผนภาษีของเราจะช่วยแบ่งเบาภาระให้เราได้เป็นอันมาก  และสามารถนำเงินส่วนที่ประหยัดได้ไปสร้างความมั่งคั่ง   ทำให้เราบรรลุเป้าหมายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น







Copyright © 2010 All Rights Reserved.