ReadyPlanet.com
dot dot
dot
วางแผนการเงิน
dot
bulletทำไมต้องวางแผนการเงิน
dot
วางแผนเกษียณอายุ
dot
bulletวางแผนเกษียณอย่างง่าย
dot
วางแผนภาษีอากร
dot
bulletทำไมต้องวางแผนภาษี
bulletเทคนิควางแผนภาษีส่วนบุคคล
bulletเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
bulletค่าใช้จ่ายของแต่ละอาชีพ
bulletสิทธิหักลดหย่อนภาษี
bulletวิธีคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา
dot
วางแผนการลงทุน
dot
bulletข้อคิดก่อนลงทุน
bulletการจัดพอร์ตลงทุน
dot
วางแผนการประกัน
dot
bulletหลักพื้นฐานการประกันภัย
bulletประกันชีวิตเท่าไรถึงพอ
dot
Newsletter

dot




ทำไมต้องวางแผนภาษี

         การวางแผนภาษี  คือ  การกำหนดแนวทางปฎิบัติในการเสียภาษี  เพื่อให้เสียภาษีได้อย่างถูกต้อง  และสามารถประหยัดภาษีได้สูงสุด
           

          ทำไมต้องมีการวางแผนภาษี
        1.  เพื่อให้เสียภาษีได้อย่างถูกต้อง
        2.  เพื่อป้องกันโทษ  และความรับผิดจากการเสียภาษีที่ผิดพลาด
        3.  เพื่อให้ได้รูปแบบแนวทางที่ประหยัดภาษีสูงสุด
        4.  ช่วยลดต้นทุนทำให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        5.  เพื่อรักษาความมั่งคั่งของผู้เสียภาษี
         

          ประเภทของภาษีอากร
         1.  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
         2.  ภาษีเงินได้นิติบุคคล
         3.  ภาษีมูลค่าเพิ่ม
         4.  ภาษีธุรกิจเฉพาะ
         5.  ภาษีศุลกากร
         6.  ภาษีสรรพสามิต
         7.  ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
         8.  ภาษีบำรุงท้องที่
         9.  ภาษีป้าย
       10.  ค่าธรรมเนียม
       11.  อากรแสตมป์
         ภาษีอากรแต่ละประเภทมีอัตราและวิธีปฎิบัติในการเสียภาษีต่างกัน  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจึงต้องศึกษารายละเอียดของภาษีอากรแต่ละประเภท  เพื่อให้การเสียภาษีของเราได้รับประโยชน์สูงสุด
        

         ประเภทของผู้เสียภาษี
          

          1. ประเภทบุคคลธรรมดา
         กฎหมายกำหนดให้นำรายได้  หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆแล้ว  มาเป็นฐานในการคำนวนภาษี โดยใช้เกณฑ์เงินสด  ( cash  basis)  เป็นตัวตั้ง  ขณะที่อัตราภาษีใช้อัตราก้าวหน้า
         ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ได้แก่
        1.  บุคคลธรรมดา
        2.  ห้างหุ้นส่วนสามัญ
        3.  คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
        4.  ผู้ถึงแก่ความตายในระหว่าปีภาษี
        5.  กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
         

          2. ประเภทนิติบุคคล
          โดยทั่วไปกำหนดให้เก็บภาษีจากกำไรสุทธิ  โดยเก็บรอบระยะเวลาบัญชีละ  2  ครั้ง  เสียภาษีในอัตราคงที่  30%  เว้นแต่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน  หรือกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น  กำไรที่เกิดขึ้นนี้ใช้เกณฑ์สิทธิ  หรือเกณฑ์ในการรับรู้รายได้ทันที  เมื่อมีการขายหรือการให้บริการ
โดยไม่คำนึงว่าจะมีการชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการหรือไม่
           ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล  ได้แก่
        1.  บริษัทจำกัด
        2.  บริษัทมหาชนจำกัด
        3.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด
        4.  ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
        5.  กิจการร่วมค้า  ( join  venture )
        6.  มูลนิธิหรือสมาคม
           ผู้เสียภาษีแต่ละประเภท  ยังแบ่งย่อยลงไปเป็น  องค์กรธุรกิจ  หรืออาชีพ  ที่แตกต่างกันออกไป  ซึ่งแต่ละธุรกิจแต่ละอาชีพ  มีอัตราภาษี  ค่าใช้จ่าย  และค่าลดหย่อนที่แตกต่างกัน     ผู้มีเงินได้  จึงควรศึกษาแต่ละธุรกิจ  แต่ละอาชีพให้ถ่องแท้ก่อนจะดำเนินธุรกิจ  เพื่อให้ได้ประโยชน์ทางภาษี  นำไปสู่การได้เปรียบทางต้นทุนเพื่อประโยชน์ในการแข่งขันในที่สุด
          

           ผลกระทบจากการวางแผนภาษีที่ผิดพลาด
       1.  ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม
       2.  ต้องเสียเบี้ยปรับ
       3.  ต้องเสียเงินเพิ่ม  ( ดอกเบี้ยของข้อ 1.  และ  2. )
       4.  ต้องรับโทษทางอาญา  ( ปรับ , จำคุก )
       5.  อาจถึงขั้นสูญเสียธุรกิจที่สร้างสมมา







Copyright © 2010 All Rights Reserved.